Page 294 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 294

286 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


          หรือหลวงพระบาง มีความสวยงามสมกับเป็นวัดประจ�าเมือง ใช้เป็นที่ถือ

          น�้าพระพิพัฒน์สัตยา และเป็นที่สถิตของพระมหาราชครูท่านหอ (แก้ว) ประมุข
          สงฆ์เมืองอุบลราชธานีตามธรรมเนียมเวียงจันทน์
               เจ้าค�าผงตั้งชื่อวัดว่า วัดหลวงให้พ้องกับนามของท่านคือ เจ้าองค์หลวง

          หรืออาชญาหลวงเฒ่า และวัดนี้ตั้งอยู่ใกล้กับคุ้มโฮงของท่านที่เรียกว่า คุ้มเจ้า
          หลวง (สุริยา โชคสวัสดิ์ และสุพัฒน์ เงาะปก ๒๕๕๐: ๑-๓) หรือเรียกอีก ๒ ชื่อ

          ว่าคุ้มญาหลวง หรือคุ้มโฮงกลาง (บ�าเพ็ญ ณ อุบล ๒๕๕๓: ๑๔๗)
               เจ้าอาวาส เจ้าอาวาสวัดหลวงนับถึง พ.ศ. ๒๕๖๒ มี ๑๑ รูป ดังนี้
                     ๑) พระมหาราชครูเจ้าท่านหอ (แก้ว) ประมุขสงฆ์รูปแรกของเมือง

          อุบลราชธานี ตามธรรมเนียมเวียงจันทน์ กล่าวกันว่าท่านเป็นหลานของ
          เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าค�าผง)

                     ๒) พระมหาราชครูเจ้าท่านหอ (เทนหรือเทพ) ประมุขสงฆ์เมือง
          อุบลราชธานี รูปที่ ๒
                     ๓) พระครูบูรพาเขตวรคณินทร์ (เจ้าอธิการกอง) เจ้าคณะแขวง

          พ.ศ. ๒๔๔๔
                     ๔) พระครูบูรพา (ญาท่านหมูน) เจ้าคณะแขวงอ�าเภอปุพพูปลนิคม

          (อ�าเภอเมืองอุบลราชธานี) พ.ศ. ๒๔๔๘
                     ๕) ญาท่านกิ่ง
                     ๖) ญาซาหมา

                     ๗) ญาครูสด
                     ๘) ญาท่านธีร์

                     ๙) พระครูปริยัตยานุวัตร (เส็ง อุตตโม ดวงมาลา น.ธ.เอก)
          เจ้าคณะต�าบลในเมือง ครองวัด พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๕๔๒
   289   290   291   292   293   294   295   296   297   298   299