Page 297 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 297
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 289
ศาลเจ้าพุทธก๋งซึ่งทิ้งไว้ที่สุสาน
๖.๓ พญานาค สร้างเพื่อเป็นจุดสังเกต (Landmark) และตามที่พระครู
วิลาสกิจจาทร นิมิตว่า เดินจากท่าน�้ามูลหน้าวัดมาที่วิหาร เห็นตายายสองคน
สนทนากันว่า “เราได้เวลากลับแล้ว เจ้าของเผิ่นมาแล้ว” แล้วเดินสวนทางไป
เมื่อมองไปเห็นตายายกลายเป็นพญานาคเลื้อยลงแม่น�้ามูล จึงสร้างพญานาค
ขึ้นสองตน มีผู้ศรัทธาสักการะเซ่นไหว้เป็นประจ�า
๖.๔ เสนาสนะในวัดมีเรื่องเล่าหลายเรื่องว่า ใต้อุโบสถเป็นที่เก็บ
พระพุทธรูป อุโบสถสร้างคร่อมสิมเก่า และเจดีย์พระมหาราชครู ศาลาจึงเม่งอิม
(ปัจจุบันเหลือแต่ป้าย) แต่เดิมเป็นศาลาสวดศพ ส่วนกุฏิพระครูปริยัตยานุวัตร
เป็นกุฏิของอดีตเจ้าอาวาสสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ใช้เป็นหอฉันด้วย
๖.๕ การสร้างพระพุทธวิเศษจ�าลอง เกิดจากนิมิตของพระครูวิลาสกิจจา
ทรว่า โยมรูปร่างสูงใหญ่นุ่งโจงกระเบนสีแดงน�าปัจจัยมาถวายเป็นปี๊บ แต่หลวง
พ่อไม่รับ โยมบังคับให้รับ หากไม่รับจะฆ่า ท่านขอนั่งสมาธิ ๕ นาที สักครู่เกิด
พระนาคปรกปกป้องหลวงพ่อไว้ โยมจึงขอยอมแพ้แล้วหายตัวไป พระครูวิลาส
กิจจาทรจึงสร้างพระพุทธวิเศษจ�าลองขึ้นตามนิมิต
๖.๖ ราหู นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
อุบลราชธานี สร้างถวายวัดหลวง มีประชาชนวัยท�างานรู้จักราหูนี้จากรายการ
หมอลักษณ์ฟันธง แก้ปีชง มาสักการะเป็นจ�านวนมาก ท�าให้มีรายได้เข้าวัดหลวง
เป็นจ�านวนมาก
๖.๗ วัตรปฏิบัติของพระสงฆ์วัดหลวง เป็นแบบพระสงฆ์ลาวได้แบบแผน
มาจากนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นแบบแผนดั้งเดิม