Page 15 - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เพชรราชธานี ประจำปี ๒๕๖๒ - สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 15

เพชรราชธานี  ๑๕

                                                        รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจ าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒

                          เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย และ วิศิษฏศิลปิน
                          เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย และ วิศิษฏศิลปิน



                       สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทาน

               พระราชูปถัมภ์อันหลากหลาย และประกอบพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อช่วยอนุรักษ์พัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทยให้
               เป็นสมบัติของชาติอย่างยั่งยืน ทั้งในเรื่องการช่างไทย ดนตรีไทย นาฏศิลป์ งานพิพิธภัณฑ์ งานประวัติศาสตร์และ

               โบราณสถานในภูมิภาคต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องอาหารไทยและวิถีชีวิตไทยในด้านอื่น ๆ เช่น ด้านสุขภาพอนามัย

               ด้านสังคมสงเคราะห์ช่วยเด็กพิการและด้อยโอกาส โดยเฉพาะการพระราชทานพระราชูปถัมภ์แก่เหล่าศิลปินน้อยใหญ่
               มากมาย ทั้งศิลปินแห่งชาติ ศิลปินพื้นบ้าน ศิลปินเพลงลูกทุ่ง เช่น เสด็จพระราชด าเนินเป็นประธานในงาน

               ด้านวัฒนธรรม เสด็จพระราชด าเนินเยี่ยมเยียนศิลปินที่เจ็บป่วยหรือพระราชทานของเยี่ยม พระราชทานรางวัลแก่
               ศิลปิน ฯลฯ ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าวล้วนสร้างขวัญก าลังใจ และก่อให้เกิดการตื่นตัวในวงการศิลปวัฒนธรรม

               อย่างกว้างขวาง ทรงเป็นปราชญ์ทางภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และพิพิธภัณฑ์วิทยา อีกทั้งได้

               พระราชทานปัญญาความรู้ในเรื่องเหล่านี้แก่วงวิชาการ ที่ส าคัญยิ่งก็คือ ได้พระราชทานพระราชด าริเกี่ยวกับการ
               บริหารจัดการงานวัฒนธรรม ทั้งในด้านการอนุรักษ์ พัฒนา การปลูกฝัง เผยแพร่ การถ่ายทอด สืบสาน และการ

               จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ

                       โดยเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ รัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ ๒ เมษายน ของทุกปี อันเป็นวันคล้าย
               วันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น

               “วันอนุรักษ์มรดกไทย”ด้วยตระหนักในพระปรีชาสามารถในด้านศิลปวัฒนธรรม และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรง

               อนุเคราะห์สนับสนุนกิจกรรมอันเนื่องด้วยงานวัฒนธรรมของชาติเสมอมา โดยเฉพาะทรงเป็นแบบอย่างในการบ าเพ็ญ
               พระราชกรณียกิจและพระราชจริยาวัตรในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ เช่น วรรณศิลป์

               ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ภาษาไทย สถาปัตยกรรม ดนตรีไทย และพุทธศาสนา รวมทั้งได้เจริญรอยตามเบื้อง
               พระยุคลบาทในการสร้างสรรค์และธ ารงรักษามรดกของชาติให้ยั่งยืนตกทอดต่อไปถึงลูกหลาน

                       ส าหรับค าว่า “มรดกไทย” ในที่นี้ คณะกรรมการอ านวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย ได้ให้ความหมายไว้ว่า

               “มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน
               วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการด าเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่าง ๆ อันเป็นผลผลิต

               ร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา”
                       ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับ

               การน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระสมัญญา “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” และเมื่อวันที่ ๒๔

               กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ วันศิลปินแห่งชาติ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติก็ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย
               พระสมัญญา “วิศิษฏศิลปิน” (อ่านว่า วิ-สิด-สิน-ละ-ปิน) ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เป็นเลิศทางศิลปะ ประเสริฐเลิศกว่า

               ศิลปินทั้งปวง” ด้วยทรงมีพระอัจฉริยะภาพและทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะหลายสาขา ทรงมีคุณูปการต่อเหล่า

               ศิลปินและศิลปวัฒนธรรมของชาติ และยังทรงเป็นเมธีทางด้านวัฒนธรรม คือทรงเป็นปราชญ์ที่มีความรอบรู้ใน
               วัฒนธรรมด้านต่าง ๆ


                                                                                      เพชรราชธานีี        13
                                          รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจ�าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20