Page 35 - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เพชรราชธานี ประจำปี ๒๕๖๒ - สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 35
เพชรราชธานี ๓๔
รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจ าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
เพื่อจัดตั้งวงดนตรีส่วนพระองค์ที่ทรงให้ข้าราชบริพารเป็นผู้บรรเลง ซึ่งทรงฝึกสอนและควบคุมวงดนตรีด้วยพระองค์
เอง พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้เลื่อนต าแหน่งเป็นสารวัตรแผนกดุริยางค์ กองสวัสดิการ กรมต ารวจ ยศพันต ารวจโท กระทั่งในปี
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้ลาออกจากราชการ เพื่อท าหน้าที่เป็นวิทยากรและผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านดนตรีให้แก่เยาวชน ทั้งใน
กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดทั่วประเทศ
ปัจจุบันด ารงต าแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อาจารย์พิเศษ สาขาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
อาจารย์พิเศษ สาขาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้ตรวจการศูนย์ประสานงาน
สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจ าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผลงานสร้างสรรค์ด้านดนตรี
พันต ารวจโท ทีฆา โพธิเวส เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และเชี่ยวชาญดนตรี ทั้งในด้านการอ านวยเพลง
การเรียบเรียงเสียงประสาน และการสอน ตลอดจนได้ให้การสนับสนุน และท าคุณประโยชน์ด้านดนตรีแก่ทางราชการ
และสังคม เป็นอย่างมาก โดยได้สร้างสรรค์ผลงานมากมาย เช่น
๑. ใช้ดนตรีเป็นสื่อให้ความบันเทิงแก่ชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยตามโครงการปฏิบัติการจิตวิทยาเพื่อการต่อสู้
คอมมิวนิสต์ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๕ และ พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๔ โดยใช้วงหัสดนตรีของกรมต ารวจ
๒. เรียบเรียงเสียงประสานเพลงส าหรับใช้บรรเลงในโอกาสต่าง ๆ เช่น เพลงพระราชนิพนธ์แสงเดือน
อาทิตย์อับแสง ความฝันอันสูงสุด ฯลฯ เพลงปลุกใจและมาร์ช เช่น เพลงเกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย เราสู้ มาร์ช ป.ด.ส.
มาร์ชต ารวจท่องเที่ยว เป็นต้น โดยเรียบเรียงเสียงประสานส าหรับบรรเลงประกอบการขับร้องของศิลปินที่มีชื่อเสียง
เช่น สุเทพ วงศ์ก าแหง สวลี ผกาพันธุ์ ธานินทร์ อินทรเทพ และดาวใจ ไพจิตร
๓. คิดค้นรูปแบบใหม่ในการน าเสนอการแสดงดนตรี และเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีประกอบการแสดง
นาฏศิลป์ โดยใช้การผสมผสานระหว่างดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีไทยเดิม และดนตรีตะวันตก เช่น เพลงประกอบการร า
สี่ภาค โหมโรงมหาราชองค์ราชัน และเพลงส้มต า บทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพลงบายศรีสู่ขวัญ เพลงสดุดีสุนทรภู่ และเพลงจ าปาศรี ซึ่งประพันธ์และ
เรียบเรียงเสียงประสานขึ้นเพื่อใช้บรรเลงในงานสถาปนา ๓๕ ปี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ รวมถึง
เพลงประกอบงานคีตนฤมิต สถิตในดวงใจ ไทยทั่วหล้า ส าหรับวงดุริยางค์สากล และวงดนตรีพื้นเมืองของวิทยาลัย
ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บรรเลงเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ จังหวัดนครพนม
๔. เป็นที่ปรึกษาด้านดนตรีให้แก่สถาบันการศึกษา ที่ได้ริเริ่มสร้างสรรค์รูปแบบการแปรขบวนดนตรีสนาม
แบบใหม่ให้กับวงโยธวาทิตในส่วนภูมิภาค ด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิควิธีแบบตะวันตกให้เข้ากับวัฒนธรรมพื้นถิ่น
เพชรราชธานีี 33
รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจ�าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒