Page 17 - Fileหนังสือเพชรราชธานี ปี 2568 11มีค.indd
P. 17
เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย และวิศิษฏศิลปิน
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทาน
พระราชูปถัมภ์อันหลากหลาย และประกอบพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อช่วยอนุรักษ์พัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทย
ให้เป็นสมบัติของชาติอย่างยั่งยืน ทั้งในเรื่องการช่างไทย ดนตรีไทย นาฏศิลป์ งานพิพิธภัณฑ์ งานประวัติศาสตร
์
้
และ โบราณสถานในภูมิภาคต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องอาหารไทยและวิถีชีวิตไทยในด้านอื่น ๆ เช่น ดานสุขภาพอนามัย
ด้านสังคมสงเคราะห์ช่วยเด็กพิการและด้อยโอกาส โดยเฉพาะการพระราชทานพระราชูปถัมภ์แก่เหล่าศิลปน
ิ
น้อยใหญ่มากมาย ทั้งศิลปินแห่งชาติ ศิลปินพื้นบ้าน ศิลปินเพลงลูกทุ่ง เช่น เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธาน
ในงานด้านวัฒนธรรม เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนศิลปินที่เจ็บป่วยหรือพระราชทานของเยี่ยม พระราชทานรางวัล
แก่ศิลปิน ฯลฯ ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าวล้วนสร้างขวัญกำลังใจ และก่อให้เกิดการตื่นตัวในวงการศิลปวัฒนธรรม
อย่างกว้างขวาง ทรงเป็นปราชญ์ทางภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และพิพิธภัณฑ์วิทยา อีกทง
ั
้
ได้พระราชทานปัญญาความรู้ในเรื่องเหล่านี้แก่วงวิชาการ ที่สำคัญยิ่งก็คือ ได้พระราชทานพระราชดำร
ิ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานวัฒนธรรม ทั้งในด้านการอนุรักษ์ พัฒนา การปลูกฝัง เผยแพร่ การถ่ายทอด สืบสาน
และการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
ี
็
้
โดยเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ รัฐบาลได้ประกาศให วันที่ ๒ เมษายน ของทุกป อันเปน
วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี
เป็น “วันอนุรักษ์มรดกไทย” ด้วยตระหนักในพระปรีชาสามารถในด้านศิลปวัฒนธรรม และพระมหากรุณาธิคณ
ุ
ที่ทรงอนุเคราะห์สนับสนุนกิจกรรมอันเนื่องด้วยงานวัฒนธรรมของชาติเสมอมา โดยเฉพาะทรงเป็นแบบอย่าง
ในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจและพระราชจริยาวัตรในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ เช่น วรรณศิลป์
ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ภาษาไทย สถาปัตยกรรม ดนตรีไทย และพุทธศาสนา รวมทั้งได้เจริญรอยตาม
เบื้องพระยุคลบาทในการสร้างสรรค์และธำรงรักษามรดกของชาติให้ยั่งยืนตกทอดต่อไปถึงลูกหลาน
สำหรับคำว่า “มรดกไทย” ในที่นี้ คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย ได้ให้ความหมายไว้ว่า
์
“มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน
วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่าง ๆ อันเป็นผลผลิต
ร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา”
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร
ี
ได้รับการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระสมัญญา “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” และเมื่อวันท
่
ี
๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ วันศิลปินแห่งชาติ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติก็ได้น้อมเกลาน้อมกระหม่อมถวาย
้
พระสมัญญา “วิศิษฏศิลปิน” (อ่านว่า วิ-สิด-สิน-ละ-ปิน) ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เป็นเลิศทางศิลปะ ประเสริฐเลิศกวา
่
ศิลปินทั้งปวง” ด้วยทรงมีพระอัจฉริยะภาพและทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะหลายสาขา ทรงมีคุณูปการ
ั
ต่อเหล่าศิลปินและศิลปวัฒนธรรมของชาติ และยงทรงเป็นเมธีทางด้านวัฒนธรรม คือทรงเป็นปราชญ์ที่มีความรอบร ู ้
ในวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ
เพชรราชธานี
เพชรราชธานี ๑๕
15
รางวัลเชิดชูเกียรติผูมีผลงานดีเดนทางวัฒนธรรม ประจําปพุทธศักราช ๒๕๖๘
ี
่
รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดเดนทางวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๘