Page 270 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 270
262 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
และเพื่อให้เป็นที่จ�าพรรษาของพระม้าว โกณฑญฺโญ พี่ชายของหม่อมเจียงค�า
ชุมพล ณ อยุธยา ชายาของพระองค์ท่านด้วย จึงทรงสร้างวัดสารพัดนึกขึ้นใน
ที่ดินของชายา
ชื่อวัดสารพัดนึกมาจากพระนามของเสด็จในกรมผู้สร้างวัดคือ สรรพสิทธิ์
แปลว่าส�าเร็จทุกอย่าง ตรงกับ “สารพัด” และประสงค์แปลว่าความต้องการ
คิด นึก ตรงกับ “นึก” ในสมัยพระครูศิริพัชโรบล (วิรัช ปญฺญาปชฺโชโต) เป็นเจ้า
อาวาสได้เปลี่ยนเป็น “สารพัฒนึก” เพื่อให้พ้องกับความหมายว่า การพัฒนาขึ้น
ไปเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา ไม่หยุดนิ่ง ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้ สารพัดนึก ตามเดิม
เจ้าอาวาส เจ้าอาวาสวัดสารพัดนึกนับถึง พ.ศ. ๒๕๖๒ มี ๑๓ รูป ดังนี้
๑) ญาท่านค�าม้าว โกณฑญฺโญ ครองวัด พ.ศ. ๒๔๓๖ พี่ชาย
ของหม่อมเจียงค�า ชุมพล
๒) ญาท่านพ่วย มาจากวัดทุ่งศรีเมือง
๓) พระครูหมั่น อานนฺโท (น.ธ.โท) ต่อมาไปเป็นเจ้าอาวาสวัดแจ้ง
๔) ญาท่านนก
๕) ญาท่านเกษ พระนักเทศน์กัณฑ์มหาราช
๖) ญาท่านพุฒ พระนักเทศน์กัณฑ์มหาราช
๗) ญาท่านน้อย มาจากบ้านขามเปี้ย อ�าเภอตระการพืชผล
๘) พระมหาบัวเรียน
๙) พระครูภาวนานุศาสน์ (สาย จารุวณฺโณ ถิ่นขาม) ครองวัด พ.ศ.
๒๔๘๕-๒๔๘๖
๑๐) ญาท่านพิมพ์ วีรปญฺโญ ครองวัด พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๘๗
๑๑) พระครูสารคุณาทร (สี เกสโร อรพันธ์ น.ธ.ตรี) ครองวัด พ.ศ.
๒๔๘๗-๒๕๓๔