Page 277 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 277
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 269
มรณะ ๒๐ ตุล ๒๔๘๑”
ที่ฐานใบเสมาทิศเหนือติดกับอุโบสถเป็นที่บรรจุอัฐิบุคคลในตระกูล
ณ จัมปาศักดิ์ ๑๕ ท่าน ได้แก่ เจ้าหญิงดวงเนตร ณ จัมปาศักดิ์, ร.ท. พระอุบล
กิจประชากร (บุญเพ็ง บุตโรบล), เจ้าหญิงทองพัน ณ จัมปาศักดิ์, เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์
(เบ็งค�า) ณ จัมปาศักดิ์, เจ้านางเลี่ยม ณ จัมปาศักดิ์, เจ้าบัวค�า ณ จัมปาศักดิ์,
เจ้านางพวงแก้ว ณ จัมปาศักดิ์, เจ้าศรีรัฐ ณ จัมปาศักดิ์, เจ้าสุวรรณะ
ณ จัมปาศักดิ์, นายกมล เจริญศรี, เจ้านางมาลีศักดิ์ เจริญศรี (ณ จัมปาศักดิ์),
ขุนบรรณสารโสภณ (อินแปลง โชติบุตร), นายประกอบศักดิ์ โชติบุตร, เจ้าเฮือน
สมบูรณ์ โชติบุตร และนายละเอียด โชติบุตร (สะกดตามจารึก)
อุโบสถเป็นอาคารทรงไทยผสมยุโรปซึ่งได้รูปแบบมาจากวัดสุปัฏ
นารามวรวิหาร แต่มีขนาดเล็กกว่าและไม่มีระเบียง ช่อฟ้าเป็นนาคสะดุ้ง
หน้าบันประดับปูนปั้นลายพรรณพฤกษา มุขหน้ายื่นออกมาจากหลังคา ปีกนก
มีบัวหัวเสา หน้ากระดานใต้หน้าบันเป็นลายประจ�ายาม มีประตูด้านหน้า ๒ ช่อง
และด้านหลัง ๒ ช่อง มีหน้าต่างที่ด้านหน้าและด้านหลังด้านละ ๒ ช่อง ด้านซ้าย
และขวาด้านละ ๘ ช่อง มีรูปปั้นสิงโตหมอบข้างบันไดหน้า ๒ ตัว บันไดหลัง
๒ ตัว
๒.๒ พระมิ่งเมือง
พระมิ่งเมืองเป็นพระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปโลหะ
ขัดเงา ปางมารวิชัย ศิลปะท้องถิ่นเมืองอุบลราชธานี สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙
พร้อมกับพระพุทธสัพพัญญูเจ้าในพระอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร โดย
พระเทพเมธี (ติสฺโส อ้วน) เป็นประธาน และพระครูวิโรจน์รัตโนบล
(นนฺตโร รอด) เป็นกรรมการหล่อ
๒.๓ พระพุทธสิหิงค์จ�าลอง
พระพุทธสิหิงค์จ�าลอง เป็นพระพุทธรูปโลหะปางสมาธิ ที่ฐานจารึก
อักษรจ�านวน ๖ บรรทัด ความว่า “อนุสรณ์แด่คณะธรรมัสสวนะสามัคคี ศรัทธา