Page 50 - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เพชรราชธานี ประจำปี ๒๕๖๒ - สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 50
ค�าประกาศเกียรติคุณ
เพชรราชธานี ๔๙
รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจ าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
นายบุญมี ล้อมวงศ์
ค าประกาศเกียรติคุณ
ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
นายบุญมี ล้อมวงศ์
ประจ�าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประจ าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
นายบุญมี ล้อมวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ ที่จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันอายุ ๕๔ ปี
เป็นบุคคลผู้มีความรู้ และประสบการณ์ในงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท า “เครื่องทองเหลือง”
ซึ่งเป็นงานช่างฝีมือที่ยังคงรักษาขั้นตอนและกรรมวิธีการท าตามแบบโบราณ คือ การหล่อแบบขี้ผึ้งหาย หรือสูญขี้ผึ้ง
ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ส าคัญของการท าเครื่องทองเหลืองบ้านปะอาว ที่ได้รับการสืบทอดวิชาจากรุ่นปู่สู่รุ่นพ่อต่อรุ่น
ลูกหลานมาถึงปัจจุบันเป็นรุ่นที่ ๖
นายบุญมี ล้อมวงศ์ ช่างหล่อเครื่องทองเหลือง ผู้ที่เกิดและเติบโตในโรงหล่อเครื่องทองเหลือง ซึ่งชีวิตในช่วง
วัยเยาว์ได้คลุกคลีและเห็นปู่ย่าท าเครื่องทองเหลือง จนท าให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการหล่อเครื่องทองเหลือง ตลอดจน
ลวดลายศิลปะทุกกระบวนการทุกขั้นตอนแทรกซึมอยู่ในสายเลือดโดยปริยาย นายบุญมี ล้อมวงศ์ แรกเริ่มได้เรียนรู้
กรรมวิธีการหล่อเครื่องทองเหลืองจากการเป็นลูกมือช่างผู้เป็นบิดา โดยหลังจากบิดาถึงแก่กรรมจึงได้ท าหน้าที่สืบทอด
วิชาช่างหล่อเครื่องทองเหลืองนั้นต่อ และได้น าประสบการณ์ที่ได้จากการไปท างานเป็นช่างกลึงเหล็กในโรงงานที่
กรุงเทพมหานคร และในต่างประเทศ มาประยุกต์กับวิชาช่างหล่อทองเหลืองแบบโบราณบ้านปะอาว ประกอบกับเป็น
ผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จึงได้น าแนวคิดใหม่ ๆ มาพัฒนาต่อยอดรูปแบบและลวดลาย ในการหล่อผลิตภัณฑ์
จนกลายเป็นนวัตกรรมที่ทรงคุณค่า ที่มีความงดงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน จนท าให้
ผลิตภัณฑ์เครื่องทองเหลืองบ้านปะอาวเป็นที่ต้องการของตลาด และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ อีกทั้งยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
นอกจากงานด้านการสืบสานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน “การหล่อเครื่องทองเหลือง” อันเป็นมรดกทาง
วัฒนธรรมของชุมชนที่ได้สั่งสมสืบทอดต่อจากบรรพชนมาเป็นระยะเวลาต่อเนื่องและยาวนานแล้ว นายบุญมี ล้อมวงศ์
ยังท าหน้าที่เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และกรรมวิธีในการท าเครื่องทองเหลืองให้แก่นักเรียน นักศึกษา ตลอดจน
ผู้สนใจทั่วไป ได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปี จึงนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีคุณูปการอย่างยิ่งใหญ่ต่อวงการ
ผลิตภัณฑ์เครื่องทองเหลืองพื้นบ้านที่ทรงคุณค่ายิ่ง
นายบุญมี ล้อมวงศ์ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขา
ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ประจ าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
48 เพชรราชธานีี
รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจ�าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒