Page 52 - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เพชรราชธานี ประจำปี ๒๕๖๒ - สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 52
ประวัติชีวิตและผลงาน เพชรราชธานี ๕๑
รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจ าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
นายบุญมี ล้อมวงศ์
ประวัติชีวิตและผลงาน
นายบุญมี ล้อมวงศ์
ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประจ�าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประจ าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
นายบุญมี ล้อมวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ ที่บ้านปะอาว ต าบลปะอาว อ าเภอเมือง
อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันอายุ ๕๔ ปี
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ส าเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านปะอาว ต าบลปะอาว อ าเภอเมือง
อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วท.ม.) สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ประวัติการท างานและการสร้างสรรค์ผลงาน
นายบุญมี ล้อมวงศ์ หลังจากส าเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ ๔ ก็ได้เริ่มเรียนรู้วิชาการท าเครื่อง
ทองเหลืองจากบิดา นายทอง ล้อมวงศ์ ที่ถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวบ้านปะอาวที่ได้รับการยกย่องในฝีมือการท า
เครื่องทองเหลืองในระดับประเทศ นับเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้วิชาการท าเครื่องทองเหลืองจากบิดาที่สืบทอดวิชา
มาจากรุ่นปู่
พ.ศ. ๒๕๑๖ นายบุญมี ล้อมวงศ์ มีโอกาสไปท างานเป็นช่างกลึงในโรงงานที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งนับเป็น
ช่วงเวลาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพช่างโลหะในรูปแบบอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ และในปี พ.ศ.
๒๕๒๙ ได้มีโอกาสไปท างานที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย จึงท าให้มีประสบการณ์ใหม่ในการท างานวิชาช่างจาก
ต่างประเทศ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๑ จึงได้เดินทางกลับมาบ้านเกิดเพื่อตั้งหลักปักฐาน แต่งงานมีครอบครัวและประกอบ
อาชีพหลัก คือ ท านา และอาชีพเสริม คือ การท าทองเหลือง โดยเป็นผู้ช่วยของบิดาในการท าเครื่องทองเหลือง และเป็น
ช่วงเวลาที่ได้เรียนรู้วิชาช่างหล่อทองเหลืองอย่างเต็มที่ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๔๖ นายทอง ล้อมวงศ์ บิดาได้ถึงแก่กรรม
จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นช่างหล่อทองเหลือง งานศิลปหัตถกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นอันล้ าค่า
ทั้งนี้ การท าผลิตภัณฑ์เครื่องทองเหลืองบ้านปะอาวรูปแบบดั้งเดิม ที่ได้รับการสืบทอดมาจากฝีมือช่าง
ภูมิปัญญารุ่นบรรพชนที่ท าต่อเนื่องกันมา เช่น ผอบ กระดิ่ง ลูกกระพรวน เชี่ยนหมาก จะมีกรรมวิธีการท าที่มี
เอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ การท าด้วยมือทุกขั้นตอน โดยวิธีการหล่อแบบขี้ผึ้งหาย หรือสูญขี้ผึ้ง ซึ่งยังคงเหลืออยู่เพียง
แห่งเดียวในประเทศไทยและมีอีกไม่กี่แห่งในโลก โดยหลังจากที่ได้สืบทอดวิชาหลักมาจากบิดาแล้ว นายบุญมี ก็ได้เริ่ม
พัฒนาฝีมือประยุกต์และออกแบบรูปแบบผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ โดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์และประสบการณ์ที่ได้จาก
50 เพชรราชธานีี
รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจ�าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒