Page 59 - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เพชรราชธานี ประจำปี ๒๕๖๒ - สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 59

เพชรราชธานี  ๕๘
                                                         รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจ าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒

                       ๓. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเทศน์ในวันธรรมสวนะแก่พระภิกษุ สามเณร และพุทธศาสนิกชน ตลอดจน

                เยาวชน เพื่อให้ทราบข้อธรรมะในการที่จะปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุขต่าง ๆ
                       ๔. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยยึดหลักตามศาสนธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

                คือ ให้นับถือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ให้ละเว้นประเพณีนับถือภูตผีบูชายัญนอกศาสนา และอบรมสั่งสอนให้

                เข้าใจในหลักแห่งพุทธศาสนาที่แท้จริง
                       ๕. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวอีสานตามหลักฮีตสิบสอง

                คองสิบสี่ เช่น ประเพณีบุญพระเวสสันดรตามหลักโบราณของอีสาน เป็นต้น

                       ๖. ส่งเสริมสนับให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของวัด เช่น จัดให้มีคณะกลองยาวไปร่วมแสดงในงานบุญ
                ประเพณีต่าง ๆ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสมัครสมานสามัคคีในกลุ่มเยาวชน และเสริมสร้างรายได้พิเศษให้แก่

                เยาวชนเหล่านั้น
                       ๗. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีกิจกรรมการขับร้องสรภัญญะ และการแข่งขันตีกลองกิ่ง ซึ่งเป็นประเพณีโบราณของ

                ชาวอีสาน โดยจัดให้มีการประกวดในช่วงงานประเพณีบุญออกพรรษาของทุก ๆ ปี

                       ๘. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการสืบสานประเพณีการทอดกฐินแบบจุลกฐิน ซึ่งเป็นประเพณีที่นับวันจะหาดูได้

                ยากในปัจจุบัน โดยงานประเพณีนี้ได้มีการจัดขบวนแห่เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนต่าง ๆ ของงานจุลกฐิน
                       ๙. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการฟื้นฟูการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ โดยเฉพาะอักษรโบราณ เช่น อักษรไทยน้อย
                อักษรธรรมอีสาน อักษรธรรมล้านนา และอักษรขอม เป็นต้น ซึ่งท่านเป็นผู้มีความสามารถในการอ่านเขียนอักษร

                เหล่านี้เป็นอย่างดี และได้อนุเคราะห์ฝึกสอนให้พระภิกษุ สามเณร ตลอดจนพุทธศาสนิกชนที่สนใจได้เรียนจนสามารถ

                อ่าน เขียน และจดจารลงในแผ่นใบลานได้อย่างช านาญเป็นจ านวนมาก ซึ่งนับเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาอีก
                อย่างหนึ่ง

                       ๑๐. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการสืบสานประเพณีการขึ้นอ้อกลอง หรือไหว้อ้อยอครูกลอง ที่นักดนตรีและ

                นางฟ้อนจะมีการร่ายบูชาครูอ้อกลองก่อนการแสดงทุกครั้ง ซึ่งถือเป็นจารีตปฏิบัติที่ส าคัญของการแสดงที่ก าลังจะ
                สูญหายในปัจจุบัน แต่พระครูพิพัฒน์วิทยาคม ได้อนุรักษ์ไว้เพื่อให้ลูกหลานได้ศึกษาข้อมูลและสืบทอดต่อไป

                โดยประเพณีขึ้นอ้อกลองวัดโนนสว่าง จะจัดขึ้นในช่วงงานประเพณีบุญคูณลานของทุก ๆ ปี


                ผลงานด้านการศึกษา

                       ๑. วิทยากรในการ “สัมมนาระดับภูมิภาคเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการจัดการมรดก
                ทางวัฒนธรรม” ประเภทเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดโดย โครงการอนุรักษ์ใบลาน

                ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
                       ๒. วิทยากรโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลทรงครองสิริ

                ราชสมบัติครบ ๗๐ ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสเฉลิม

                พระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา “กิจกรรมเข้าวัด ปฏิบัติธรรม การเรียนรู้อักษรธรรม อักษรไทยน้อย จากคัมภีร์ใบลาน”






                                                                                      เพชรราชธานีี        57
                                          รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจ�าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64