Page 56 - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เพชรราชธานี ประจำปี ๒๕๖๒ - สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 56

ค�าประกาศเกียรติคุณ
                                                                                              เพชรราชธานี  ๕๕

                                                   รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจ าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
                     พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (เจริญ ฐานยุตฺโต)
                                               ค าประกาศเกียรติคุณ
                ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี
                                พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (เจริญ ฐานยุตฺโต)
                                          ประจ�าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
                        ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี

                                             ประจ าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒



                  พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (เจริญ ฐานยุตฺโต) มีนามเดิมว่า เจริญ สารักษ์ เกิดเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ.
           ๒๕๐๔ ที่บ้านหนองวัวซอ ต าบลหมากหญ้า (ปัจจุบันคือต าบลหนองวัวซอ) อ าเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

           ปัจจุบันอายุ ๕๘ ปี พรรษา ๓๘ เจ้าคณะอ าเภอหนองวัวซอ และเจ้าอาวาสวัดโนนสว่าง อ าเภอหนองวัวซอ จังหวัด
           อุดรธานี

                  พระครูพิพัฒน์วิทยาคม เป็นพระเถระผู้มีศีลาจารวัตรงดงาม มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส รับภารธุระงานของ

           คณะสงฆ์ บ าเพ็ญประโยชน์ด้านการปกครอง ศาสนา การศึกษา และการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมอัน
           ทรงคุณค่ามาอย่างต่อเนื่อง ในด้านการปกครองได้บริหารกิจการคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยดีงามตามหลัก

           พระธรรมวินัย และกฎระเบียบต่าง ๆ ของคณะสงฆ์ ด้านการศึกษา เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง เป็นวิทยากร

           ให้ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมอีสานแก่นิสิต นักศึกษา ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ด้านพระพุทธศาสนา และการ
           อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม เป็นผู้ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมการปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิแก่เยาวชนและพุทธศาสนิกชน

           สนับสนุนให้มีการอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวอีสานตามหลักฮีตสิบสองคองสิบสี่ รวมถึง

           อนุรักษ์ฟื้นฟูการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ โดยเฉพาะอักษรโบราณ เช่น อักษรไทยน้อย อักษรธรรมอีสาน อักษรธรรม
           ล้านนา และอักษรขอม ซึ่งท่านเป็นผู้มีความสามารถในการอ่านเขียนอักษรเหล่านี้เป็นอย่างดี และได้อนุเคราะห์

           ฝึกสอนให้พระภิกษุ สามเณร ตลอดจนพุทธศาสนิกชนที่สนใจได้เรียนจนสามารถอ่าน เขียน และจดจารลงในแผ่น
           ใบลานได้อย่างช านาญเป็นจ านวนมาก ซึ่งนับเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาอีกอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้ง

           ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมและคัมภีร์ใบลาน เฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
           วัดโนนสว่าง อ าเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและให้ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมอีสานแบบ

           ครบวงจร ทั้งยังเป็นผู้น าในการรวมกลุ่มชาวบ้านเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอีสาน เช่น กลุ่มอนุรักษ์กลองกิ่งและ

           กลองอีสานโบราณ กลุ่มอนุรักษ์การร้องสรภัญญะ กลุ่มอนุรักษ์ประเพณีสิบสองเดือน เป็นต้น คุณูปการที่ท่านได้
           บ าเพ็ญตนเพื่ออนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมอีสานและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างแท้จริง จึงมีหน่วยงานต่าง ๆ ได้ถวาย

           รางวัลเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นจ านวนมาก อาทิ รางวัลพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร รางวัลพระราชทานพระธาตุ

           นาดูนทองค า รางวัลวัฒนคุณาธร รางวัลราชมงคลสรรเสริญ รางวัลผู้น าศาสนาดีเด่น ฯลฯ
                  พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (เจริญ ฐานยุตฺโต) จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทาง

           วัฒนธรรม สาขาศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี ประจ าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒



              54      เพชรราชธานีี
                      รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจ�าปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61