Page 41 - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เพชรราชธานี ประจำปี ๒๕๖๓ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 41

นอกจากนี้ ยังเป็นบุคคลที่อุทิศตน เสียสละ และมีจิตอาสา สร้างสรรค์ผลงานศิลปะการแสดงในเทศกาล
               ต่าง ๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้เผยแพร่บทกลอนแทรกค�าสอนคุณธรรมจริยธรรม ประวัติเรื่องเล่า

               พุทธศาสนา ให้ประชาชนได้น�าไปปรับใช้ในชีวิตประจ�าวัน อีกทั้งเพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงท้องถิ่นของ
               จังหวัดอุบลราชธานี
                      นายรังสรรค์ วงศ์งาม ได้ใช้ระยะเวลาอันยาวนานในการสั่งสมประสบการณ์ ถ่ายทอดศิลปะการแสดง

               หมอล�ากลอน และร่วมกันพัฒนาเครือข่ายหมอล�ากลอนให้รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ส่งเสริม สนับสนุน สร้างมูลค่าเพิ่ม
               ให้มรดกวัฒนธรรมดั้งเดิมของเมืองอุบลราชธานีให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน ทั้งยังได้ถ่ายทอดขยายผล

               โดยท�าหน้าที่เป็นวิทยากรให้ความรู้และฝึกสอนศิลปะการแสดงหมอล�ากลอนพื้นบ้าน ให้กับสถาบันการศึกษาและ
               หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ ได้ร่วมอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะการแสดง
               หมอล�ากลอนพื้นบ้าน เช่น เป็นวิทยากรการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่องลิขิตล�ากลอนสะท้อนวิถีชีวิต จัดโดย

               ส�านักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นอาจารย์พิเศษ สอนการแสดงพื้นบ้านหมอล�า
               ให้แก่นักศึกษาสาขานาฏศิลป์และการละคร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

               ฯลฯ รวมถึงได้จัดท�าโครงการส่งเสริม สนับสนุนศิลปะการแสดงพื้นบ้านหมอล�าอีสาน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบสาน
               และสืบทอดการแสดงหมอล�าอีสานให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ในด้านการแสดงได้ร่วมแสดงในงานประเพณีที่ส�าคัญของ
               ท้องถิ่น เช่น ร่วมแสดงในประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี และประเพณีบุญผะเหวด เทศน์มหาชาติ

               เป็นประจ�าทุกปี ฯลฯ ร่วมถึงเผยแพร่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ร่วมแสดงในงานอุ่นไอรัก คลายความหนาว
               สายน�้าแห่งรัตนโกสินทร์ ร่วมแสดงมหรสพสมโภช เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช

               ๒๕๖๒ ร่วมแสดงเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นต้น
                      ผลงานส�าคัญที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ได้แก่ เป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่าร�าที่อ่อนช้อยงดงาม ให้กับนักเรียน
               โรงเรียนนารีนุกูล จ�านวน ๑๒ ท่าร�า ได้แก่ ท่าร�าแฮ้งตากขา กาตากปีก หลีกแม่เมีย เสือออกเหล่า เต่าลงหนอง

               ครกมองต�าข้าว ปลาชะโดลงคลอง หงส์เซิ่นฟ้า มโนราห์เล่นน�้า ผู้เฒ่าไปยามไซ ปลาไหลลอดถ่อ รวมถึงการแต่ง
               กลอนล�า โดยการน�านิทานพื้นบ้านอีสาน ประวัติหรือต�านานอีสานต่าง ๆ มาเรียงร้อยแต่งกลอนล�า เช่น ล�าเต้ย

               ถวายพระพร ๕ ธันวามหาราช และล�าเต้ยถวายพระพร ๑๒ สิงหามหาราชินี ซึ่งเป็นกลอนล�าเพื่อถวายความจงรัก
               ภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นต้น



               รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ

                      พ.ศ. ๒๕๔๕  ได้รับรางวัลรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ หมอล�าฝ่ายชาย จากส�านักงานคณะกรรมการ
               วัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
                      พ.ศ. ๒๕๔๗  ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น สุดยอดศิลปินพื้นบ้านอีสาน ประเภทหมอล�ากลอน ในโอกาส

               ฉลองครบรอบ ๔๐ ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                      พ.ศ. ๒๕๔๙  ได้รับรางวัลการสร้างสรรค์ผลงานดีเด่นด้านศิลปะและวัฒนธรรม  “หมอล�าดีเด่น

               ระดับภาค” จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
                      พ.ศ. ๒๕๕๔  ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ครูภูมิปัญญาไทย รุ่น ๗ ด้านศิลปกรรม (หมอล�ากลอน
               ประยุกต์) จากส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กระทรวงศึกษาธิการ





                                                                                เพชรราชธานีี        39
                                    รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำาปีพุทธศักราช ๒๕๖๓
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46