Page 44 - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เพชรราชธานี ประจำปี ๒๕๖๓ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 44
ค�ำประกำศเกียรติคุณ
นำงจำรุวรรณ เหมืองจำ
ผู้มีผลงำนดีเด่นทำงวัฒนธรรม สำขำวรรณศิลป์
ประจ�ำปีพุทธศักรำช ๒๕๖๓
นางจารุวรรณ เหมืองจา เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ที่อ�าเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ปัจจุบัน
อายุ ๔๙ ปี ด�ารงต�าแหน่งผู้อ�านวยการศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมวรรณกรรมล้านนาเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
นางจารุวรรณ เหมืองจา เจ้าของนามปากกา “นางฟ้าชาลี” เป็นผู้ที่มีความสนใจในวรรณกรรมล้านนา
ประเภทค่าวเป็นอย่างมาก ด้วยจิตส�านึกรักแผ่นดินเกิด จึงเกรงว่าหากไม่มีการสืบทอด “ค่าว” อาจจะสูญหายไป
จากดินแดนล้านนา จึงได้ตั้งใจศึกษาและเริ่มฝึกการเขียนค่าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยได้ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษา
เรียนรู้จากปราชญ์และภูมิปัญญาชาวบ้านล้านนาที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ทั้งยังทุ่มเทเวลาในชีวิตให้กับการฝึกฝน
เขียนค�าประพันธ์ประเภทค่าวอย่างเอาใจใส่จริงจัง และลุ่มหลงกับเสน่ห์ภาษาถิ่นล้านนาในบทร้อยกรองที่ไพเราะ
โดยผลงานการประพันธ์ล้วนแล้วแต่เป็นบทร้อยกรองที่งดงาม แฝงคติธรรมและสะท้อนความผูกพันของวิถีชีวิต
ชาวล้านนากับวัฒนธรรมประเพณีอย่างลึกซึ้ง
นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในผู้คิดริเริ่มและประสานงานเพื่อรวบรวมครูค่าวในล้านนา เปิดโรงเรียนสอน
ค่าวฮ�่าออนไลน์ โดยตั้งชื่อกลุ่มว่า “โฮงเฮียนค่าวฮ�่า” อีกทั้งยังได้ใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัว ในการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริม
วัฒนธรรมวรรณกรรมล้านนาเชียงใหม่ ณ อ�าเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ อนุรักษ์
สืบสาน เรื่องค่าว จ๊อย และอักษรธรรมล้านนา (ตั๋วเมือง) ให้แก่เยาวชน และผู้สนใจได้เรียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
และยังมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการเปิดศูนย์เครือข่ายอีก ๓ แห่ง ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมวรรณกรรมล้านนา
เชียงใหม่ ณ วัดพระสิงห์วรวิหาร และวัดดับภัย อ�าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงศูนย์วัดดอนชัยท่ารั้ว
อ�าเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยตลอดระยะเวลากว่า ๒๓ ปี ได้อุทิศตนเป็นผู้อนุรักษ์ สืบสาน สร้างสรรค์
ส่งเสริม และเผยแพร่ภูมิปัญญาล้านนา ด้วยผลงานการประพันธ์ที่มีวรรณศิลป์อันมีคุณูปการยิ่งต่อสังคมล้านนา
และชาติไทย และยังคงสร้างสรรค์ผลงานปรากฏสู่สาธารณะอย่างสม�่าเสมอ จนกลายเป็นนักประพันธ์ค่าวที่มี
ชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไป พร้อมทั้งยังได้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและ
เอกชนมากมาย เช่น ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นครูภูมิปัญญาเชียงใหม่ วาระ ๗๒๐ ปี ได้รับรางวัลเพชรราชภัฏ–
เพชรล้านนา ประจ�าปี พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้น
นางจารุวรรณ เหมืองจา จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม
สาขาวรรณศิลป์ ประจ�าปีพุทธศักราช ๒๕๖๓
42 เพชรราชธานีี
รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำาปีพุทธศักราช ๒๕๖๓