Page 53 - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เพชรราชธานี ประจำปี ๒๕๖๓ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 53

อาชีพของครอบครัวที่ได้เห็นและซึมซับมาตั้งแต่เด็ก จึงได้เข้าไปศึกษาและหัดท�าหัวโขนที่กองหัตถศิลป์
               กรมศิลปากร จนเริ่มเขียนลายและสามารถท�าหัวโขนได้ในระดับหนึ่ง จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในระดับ

               ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกหัตถศิลป์ โรงเรียนเพาะช่าง ซึ่งมีการเรียนการสอนวิชาการท�าหัวโขน
               โดยตรง และในระหว่างเรียนได้มีโอกาสเป็นตัวแทนของโรงเรียนเพาะช่างไปสาธิตการท�าหัวโขนและงานศิลปะ
               อื่น ๆ เป็นประจ�าอยู่เสมอ หลังส�าเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเพาะช่าง ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ที่วิทยาลัย

               เทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเพาะช่าง โดยในระหว่างนี้ก็ยังคงเข้าไปศึกษาหาความรู้ด้านการท�าหัวโขนที่
               กองหัตถศิลป์อยู่มิได้ขาด จนเกิดทักษะและความช�านาญในการท�าหัวโขน ทั้งยังได้น�าความรู้ และวิทยาการ

               สมัยใหม่มาแลกเปลี่ยนความรู้กับคุณอา คือ นายส�าเนียง ผดุงศิลป์ เพื่อพัฒนาเทคนิคและวิธีการท�าหัวโขนอยู่
               เสมอ ส่งผลท�าให้หัวโขนบ้านผดุงศิลป์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
                      ปัจจุบัน นายวิษณุ ผดุงศิลป์ ยังคงมุ่งมั่นที่จะท�าหัวโขนแบบโบราณตามกรรมวิธีของสกุลช่างผดุงศิลป์

               คือ ยังใช้กระดาษสาในการปิดหุ่น (เดิมใช้กระดาษข่อยแต่ปัจจุบันไม่มีการท�าขายแล้ว) ในส่วนประกอบของหัวโขน
               เช่น ใบหู จอนหู จะตอกฉลุด้วยหนังและเย็บด้วยลวดเสริมความแข็งแรง ปั้นหน้าด้วยสมุกโขลก ซึ่งท�าให้ส่วนที่

               เป็นงานปั้นหน้าแข็งแรง ติดลายด้วยรักสมุกที่เคี่ยวขึ้นเอง โดยลายที่ใช้จะเป็นลายที่แกะจากแม่พิมพ์หินสบู่ซึ่งท�า
               ขึ้นเอง ปิดทองด้วยทองค�าเปลว และท�าหัวโขนโดยยึดสีตามแบบที่ช่างโบราณก�าหนดไว้ ทั้งยังเขียนหน้าโขน
               โดยยึดรูปแบบของช่างหัวโขนโบราณ จนเป็นที่ยอมรับในวงการช่างและวงการนาฏศิลป์ไทยทั่วไป

                      ทั้งนี้ ผลงานที่โดดเด่นและสร้างความภูมิใจ คือ หัวโขนที่เป็นหัวครูทั้งหมด ๙ หัว ซึ่งได้รับความนิยม
               อย่างมาก เรียกได้ว่าระยะหลังของการท�าหัวโขนแทบจะมีแต่หัวโขนครูทั้งนั้น โดยเฉพาะหน้าพระที่มีความลงตัว

               อย่างมาก ทั้งในส่วนของใบหน้า ทรงยอด และองค์โดยรวมของหัวโขน ทั้งพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม
               พระปัจจสิงขร พระปรคนธรรพ พระอินทร์ พระพิราพ และพระพิฆเนศ ซึ่งหัวโขนพระพิฆเนศได้รูปแบบมาจาก
               พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ที่มีรูปแบบและลวดลายใกล้เคียงกัน


               ผลงานที่ภาคภูมิใจ

                      -  เป็นจิตอาสางานฉลุส่วนประกอบของพระโกศจันทน์ และพระหีบจันทน์ ส�าหรับใช้ในพระราชพิธีถวาย
               พระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ร่วมกับส�านักช่างสิบหมู่

               เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐
                      -  เป็นผู้เขียนสีเทวดานั่งอัญเชิญบังแทรก และเขียนสีหงส์ที่ใช้ประกอบเสาหงส์ ส�าหรับใช้ประดับพระเมรุ

               ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราช
               นครินทร์ ร่วมกับส�านักช่างสิบหมู่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑
                      -  เป็นผู้เขียนสีเทวดานั่งอัญเชิญบังแทรก ส�าหรับใช้ประดับพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิง

               พระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้าร�าไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ ร่วมกับส�านักช่างสิบหมู่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘
                      -  สาธิตการเขียนหัวโขน ในเทศกาลระบ�าหน้ากากนานาชาติอันดง (Andong Mask Dance Festival

               2018) ระหว่างวันที่ ๒๘ กันยายน-๗ ตุลาคม ๒๕๖๑ ณ ประเทศเกาหลีใต้
                      -  ได้มีโอกาสร่วมเขียนลายรดน�้าบานประตูอุโบสถวัดท่าสุทธาวาส และวิหารพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก
               วรวิหาร จังหวดอ่างทอง ร่วมกับฝ่ายบูรณะราชภัณฑ์ กองพระราชพิธี ส�านักพระราชวัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑





                                                                                เพชรราชธานีี        51
                                    รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำาปีพุทธศักราช ๒๕๖๓
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58