Page 64 - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เพชรราชธานี ประจำปี ๒๕๖๓ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 64
ประวัติชีวิตและผลงำน
นำยโกมล พำนิชพันธ์
ผู้มีผลงำนดีเด่นทำงวัฒนธรรม สำขำกำรท่องเที่ยวทำงวัฒนธรรม
ประจ�ำปีพุทธศักรำช ๒๕๖๓
นายโกมล พานิชพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ที่อ�าเภอเมืองล�าปาง จังหวัดล�าปาง
ปัจจุบันอายุ ๖๘ ปี
ประวัติการศึกษา
ส�าเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ ๗ จากโรงเรียนลองวันครู จังหวัดแพร่
ส�าเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนลองวิทยา จังหวัดแพร่
ประวัติการท�างาน
นายโกมล พานิชพันธ์ มีความประทับใจในความงามของผ้าทอตั้งแต่เยาว์วัย เนื่องจากได้ติดตามบิดา
ซึ่งประกอบกิจการร้านถ่ายภาพชื่อดังประจ�าอ�าเภอ คือ “ร้านถ่ายภาพฉลองศิลป์” ที่ตั้งอยู่ในตลาดห้วยอ้อ
อ�าเภอลอง จังหวัดแพร่ ไปถ่ายรูปตามงานต่าง ๆ ซึ่งระหว่างนั่งรออยู่ที่ใต้ถุนบ้านก็ได้เห็นชาวบ้านทอผ้ากัน
ทุกบ้านจึงเป็นภาพที่คุ้นชินตามาโดยตลอด หลังจากส�าเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนลองวิทยา
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ แล้ว ได้เริ่มเรียนรู้การถ่ายภาพจากบิดา โดยได้เรียนรู้เทคนิคการถ่ายภาพและพัฒนาฝีมือการ
ถ่ายภาพขึ้นมาเป็นล�าดับ จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เช่น ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวด
ภาพถ่ายปีการท่องเที่ยวไทย ๖ รางวัล และด้วยความสามารถทางด้านการถ่ายภาพ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ จึงได้
เชิญให้เป็นอาจารย์พิเศษ สอนในสาขาวิชาวิศวกรรมส�ารวจถ่ายภาพทางอากาศ
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ อาจารย์วิถี พานิชพันธ์ (ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม และ
ประเพณีล้านนา และเป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ได้เดินทางมาเยี่ยม
ครอบครัวนายโกมล พานิชพันธ์ ที่อ�าเภอลอง และได้พบเห็นผ้าโบราณของเมืองลอง ซึ่งเป็นผ้าซิ่นตีนจกที่สวยงาม
จึงได้ขอให้นายโกมล พานิชพันธ์ หาผ้าซิ่นลายโบราณเหล่านั้นให้ โดยเมื่อรวบรวมผ้าซิ่นโบราณได้จ�านวนหนึ่งแล้ว
จึงพบว่า ลวดลายของผ้าซิ่นแต่ละผืนนั้นไม่ซ�้ากัน และแต่ละลวดลายยังแฝงไปด้วยภูมิปัญญาการทอผ้าของ
คนโบราณ ส่งผลให้นายโกมล พานิชพันธ์ ขอให้อาจารย์วิถี พานิชพันธ์ ได้เก็บผ้าเหล่านั้นไว้ที่เมืองลอง ซึ่งอาจารย์
ก็ตอบว่า “ได้แต่ต้องไม่ขายให้ใคร” จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการสะสมผ้าซิ่นตีนจกของเมืองลอง และน�าไปสู่การศึกษา
ศิลปะผ้าซิ่น และประวัติความเป็นมาของลายผ้าซิ่น โดยได้ออกไปเสาะแสวงหาผ้าซิ่นจากคนเฒ่าคนแก่ ทั้งขอดู
ขอยืม และบางทีแม่อุ๊ยก็ขายให้บ้าง หรือบางท่านก็ยกให้เพื่อให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้สืบทอด และด้วยความเป็น
ศิลปินของนายโกมล พานิชพันธ์ จึงได้พัฒนาเทคนิคการสร้างผ้าที่หลากหลาย เพื่อน�ามาผสมผสานสร้างสรรค์
งานด้านผ้า และพัฒนาการน�าเสนอ เพื่อชี้ให้ผู้คนได้เล็งเห็นถึงความส�าคัญของภูมิปัญญาด้านผ้า อันจะก่อให้เกิด
ความรัก และความภาคภูมิใจในผืนผ้า ที่ได้บรรจงถักทอเส้นใยให้เป็นผืนผ้าอันประณีตงดงาม และด้วยหลงใหล
62 เพชรราชธานีี
รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำาปีพุทธศักราช ๒๕๖๓