Page 65 - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เพชรราชธานี ประจำปี ๒๕๖๓ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 65
ในคุณค่าความงดงามของผ้า จึงเกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะสะสมผ้าซิ่นอันมีค่ายิ่งเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม
โดยในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ นายโกมล พานิชพันธ์ จึงได้จัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โกมลผ้าโบราณ” ขึ้น เพื่อเป็น
แหล่งเรียนรู้ที่บุคคลทุกเพศทุกวัยสามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านผ้าจนเป็นที่ประจักษ์ชัดเช่นใน
ปัจจุบัน
ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ร่วมมือกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดแพร่ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
โกมลผ้าโบราณ เป็นศูนย์เทคโนโลยีพื้นบ้าน สาขาสิ่งทอ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ ๗๒ พรรษา
ปัจจุบัน นายโกมล พานิชพันธ์ ด�ารงต�าแหน่งกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ และประธาน
สภาวัฒนธรรมอ�าเภอลอง จังหวัดแพร่
ผลงานที่ส�าคัญ
๑. ก่อตั้งอาคารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โกมลผ้าโบราณ
โดยสร้างตัวตึกเลียนแบบสถานีรถไฟบ้านปิน อ�าเภอลอง จังหวัดแพร่ ที่ก่อสร้างตามแบบ
สถาปัตยกรรมไทยผสมผสานกับยุโรป เป็นอาคารสองชั้น ตัวตึกประดับด้วยไม้ หลังคาจั่วและปั้นหยา ประตู
หน้าต่างเป็นบานลูกฟักไม้ เหนือบานประตูหน้าต่างและหน้าช่องจ�าหน่ายตั๋วประดับด้วยไม้ฉลุลาย
ภายในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โกมลผ้าโบราณ จัดส่วนการแสดงเป็น ๖ ส่วน คือ
ส่วนที่ ๑ จัดแสดงภาพจิตรกรรมเวียงต้า
ส่วนที่ ๒ จัดแสดงผ้าโบราณเมืองลอง
ส่วนที่ ๓ จัดแสดงผ้าซิ่นตีนจกจากแหล่งต่างๆ
ส่วนที่ ๔ จัดแสดงวิธีการเก็บผ้าโบราณ ผลงานการออกแบบลายผ้าและเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดง
ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ เป็นต้น ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบของนายโกมล พานิชพันธ์
ส่วนที่ ๕ จัดแสดงแหล่งเรียนรู้ผ้าโบราณส�าหรับเยาวชน โดยน�าเสนอผ่านสื่อตุ๊กตา
ส่วนที่ ๖ ร้านจ�าหน่ายผลิตภัณฑ์ และของที่ระลึก
๒. ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ร้านถ่ายรูปฉลองศิลป์
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยนายโกมล พานิชพันธ์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการถ่ายภาพแห่งแรก
ของอ�าเภอลอง อาคารพิพิธภัณฑ์ใช้ร้านถ่ายรูปฉลองศิลป์เดิม ซึ่งเป็นอาคารไม้สองชั้นตั้งอยู่ในตลาดห้วยอ้อ
อ�าเภอลอง จังหวัดแพร่ โดยชั้นล่างจัดแสดงเกี่ยวกับอุปกรณ์การถ่ายภาพ ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของร้านฉลองศิลป์
และจัดแสดงภาพถ่ายเก่าในอดีตฝีมือของบิดาคือ คุณฉลอง พานิชพันธ์ ส่วนชั้นที่สอง จัดแสดงภาพถ่ายเกี่ยวกับ
ตระกูลของคุณฉลอง และตระกูลฝ่ายภรรยา คือ นางบัวไข พานิชพันธ์ (สกุลเดิม แสนวงศ์ค�า) นอกจากนี้ ยังจัด
แสดงเครื่องถ้วยกังไสยุโรปของบริษัทรอยัล อัลเบิร์ต โบน ไชน่า (Royal Albert Bone China) ประเทศอังกฤษ
รวมถึงจัดแสดงอุปกรณ์กล้อง และอุปกรณ์การอัดรูปสมัยเก่า พร้อมทั้งรูปถ่ายฝีมือของคุณฉลอง ซึ่งบางภาพได้
กลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ เช่น พระบรมฉายาลักษณ์เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร และพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เสด็จพระราชด�าเนินเมืองแพร่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ รวมถึงภาพที่น่าประทับใจคือ ภาพถ่ายบรรดาลูก ๆ ของคุณฉลอง
ในวัยเด็ก และภาพถ่ายของเหล่าบรรดานางงามจากจังหวัดล�าปาง และจังหวัดแพร่ในแต่ละรุ่น
เพชรราชธานีี 63
รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำาปีพุทธศักราช ๒๕๖๓