Page 29 - พ่อดีเด่นราชภัฏ ประจำปี ๒๕๖๗ : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 29
ประวัติความเป็นมา
ของวันพ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติ จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ โดย คุณหญิงเนื้อทิพย์ เส
มรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา โดยเหตุผลที่มีการจัดงานวันพ่อแห่งชาติขึ้น
เนื่องจากพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม ซึ่งผู้เป็นลูกควร
ที่จะเคารพเทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึง
ผู้เป็นพ่อ ดังนั้น จึงได้มีการกำหนดให้วันที่ ๕ ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ
ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็น
“วันพ่อแห่งชาติ” โดยมีดอกไม้สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันพ่อ คือ “ดอกพุทธรักษา” ซึ่งมีชื่ออันเป็นมงคล
โดยภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี
ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดว่า
วันที่ ๕ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกา
ธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นวันชาติ และเป็นวันพ่อแห่งชาติ
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลย
เดชมหาราช บรมนาถบพิตร
๒. เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
๓. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
๔. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน
กิจกรรม
๑. ประดับธงชาติไทยบริเวณอาคารบ้านเรือน
๒. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศถวายเป็นพระราชกุศล เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหา
กรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
๓. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
๒๗