Page 26 - พ่อดีเด่นราชภัฏ ประจำปี ๒๕๖๗ : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 26
ความเป็นนักประดิษฐ์คิดค้น พัฒนา และส่งเสริมนักประดิษฐ์ให้ร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาเศรษฐกิจ
สังคม เพื่อความเจริญและความมั่นคงของประเทศชาติ
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระบิดาแห่งการประดิษฐ์
ไทย เนื่องด้วยพระองค์สนพระราชหฤทัยในการประดิษฐ์เครื่องจักรกลเพื่อใช้ในการพัฒนาการเกษตร
รูปแบบต่าง ๆ โดยอยู่บนพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีแบบ ง่าย ๆ ใช้ภูมิปัญญาของไทย ใช้วัสดุ
ภายในประเทศ เน้นความง่ายในการใช้งานการซ่อมบำรุงสะดวกและราคาถูก งานประดิษฐ์คิดค้น
ของพระองค์ เช่น เครื่องสีข้าว กังหันน้ำ และเรือใบมด
เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ สำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ทูลเกล้า
ทูลกระหม่อม ถวายสิทธิบัตรนวัตกรรมการประดิษฐ์ในพระปรมาภิไธย สำหรับกังหันน้ำชัยพัฒนา
นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบทุ่นลอยเครื่องที่ ๙ ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร
และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ จึงนับได้ว่า
เป็น “สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและ
เป็นครั้งแรกของโลก” ต่อมาสภาวิจัยแห่งชาติได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตทูลเกล้าฯ
ถวายรางวัลที่ ๑ ผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ สาขาวิทยาศาสตร์
ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ นอกจากนี้ กังหันน้ำชัยพัฒนาได้สร้างชื่อเสียงในระดับนานาชาติ
องค์กรสิ่งประดิษฐ์ของราชอาณาจักรเบลเยียม สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐเกาหลี และสหพันธ์สมาคม
นักประดิษฐ์นานาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลและถ้วยรางวัลเป็นจำนวนมากเพื่อสดุดี
พระเกียรติคุณ
พระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เห็นชอบให้ดำเนินโครงการ
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และน้อมเกล้าฯ
ถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ
ครบ ๖๐ ปี เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรม
๒๔