Page 5 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 5

บทความ “ดนตรีไทยสมัยกรุงธนบุรี”  โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์นิสิต

          ภาคบุบผา ได้น�าเสนอเรื่องราวของดนตรีไทยสมัยกรุงธนบุรีว่า ถึงแม้จะเป็นสมัย
          สั้น ๆ เพียง ๑๕ ปี แต่ได้รับอิทธิพลสืบเนื่องจากสมัยอยุธยา จึงท�าให้วงดนตรีไทย

          สมัยนี้มีครบ ๓ ประเภท คือ ปี่พาทย์ เครื่องสายและมโหรี จากหมายก�าหนดการ
          สมโภชพระแก้วมรกต ท�าให้ทราบว่า ได้มีวงดนตรีชาวต่างชาติทั้งจีน แขก มอญ

          เขมร เข้ามาตั้งแต่สมัยธนบุรีแล้ว และแม้จะมีการท�าศึกสงครามอยู่เป็นระยะ ๆ
          แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินก็มิได้ทรงทอดทิ้งศิลปะการดนตรี กลับมีความเจริญรุ่งเรือง

          ไม่น้อยไปกว่าด้านอื่น ๆ
               บทความ “การตัดสินการประกวดขบวนแห่” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์

          ร้อยเอก วราวุธ ผลานันต์ เป็นบทความวิชาการที่ชี้ให้เห็นว่า ในการตัดสินการ
          ประกวดขบวนแห่ จะต้องพิจารณาทั้งองค์ประกอบทางศิลปะการแสดงและ

          ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดประกวด หากการตัดสินไม่เป็นเอกฉันท์
          จะต้องหาข้อยุติร่วมกัน และคณะกรรมการจะต้องพึงระมัดระวังในการตัดสินการ

          ประกวดต่าง ๆ อย่างรอบคอบ เพราะอาจจะท�าให้เกิดความเสียหายต่อชุมชนได้
               บทความ “ผ้ากาบบัว” ท�าไมไม่เรียกว่า “ผ้ากลีบบัว” โดยนายสุวิชช คูณผล

          ได้น�าเสนอถึง ประวัติความเป็นมาของภูมิปัญญาด้านการทอผ้าที่มีชื่อเสียงและเป็น
          เอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงสมัยรัชกาลที่ ๙

          แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะผ้าที่เป็นเอกลักษณ์และมีชื่อเสียงของจังหวัด
          อุบลราชธานีในปัจจุบัน คือผ้ากาบบัว

               บทความ “ดงฟ้าฮ่วน–ฟ้าห่วน” โดยรองศาสตราจารย์ประจักษ์ บุญอารีย์ ได้
          น�าเสนอว่า บรรพบุรุษของชาวอุบลราชธานีได้ตั้งถิ่นฐานในที่อุดมสมบูรณ์ ปัจจุบัน

          เป็นป่าสงวนและเป็นป่าธรรมชาติที่เป็นสวนพฤษศาสตร์ตั้งอยู่ใจกลางเมือง
          อุบลราชธานี เรียกว่า“ดงฟ้าฮ่วน” มีทั้งพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด ที่ยังมีความ

          อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งควรพัฒนาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ธรรมชาติ
          ในอนุภูมิภาคลุ่มน�้าโขงต่อไป





                                                                   วัฒนศิลปสาร  3
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10