Page 9 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 9
ตามประวัติวัดว่าสร้างขึ้นในราวปลายรัชกาลที่ ๓ เมื่อพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล
อุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย) พระเถระชาวเมืองอุบลราชธานี หรือ “ท่านเจ้า” ที่ไปศึกษา
๑
พระปริยัติธรรม ณ ส�านักวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ได้กลับมาจ�าพรรษา
ณ วัดแห่งนี้ พร้อม “อาชญาสิทธิ์” ในฐานะ “หลักค�า” และ “พระธรรมบาล” ใน
๓
๒
การปกครองคณะสงฆ์พื้นเมือง อีกทั้งน�าจารีตการศึกษาแบบภาคกลางเข้ามาเผยแพร่
นับเป็นคุณูปการแก่เมืองอุบลราชธานีเป็นอย่างยิ่ง และเรียกลัทธิที่ท่านน�าเผยแผ่
ว่า “พระครองไทย” ๔
วัดมณีวนาราม นอกจากเป็นวัดที่มีความส�าคัญด้านประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะ
การเป็น “ส�านักการศึกษา” และวัดที่จ�าพรรษาของพระมหาเถระผู้ปกครองคณะสงฆ์
สังกัดมหานิกาย ทุกยุคทุกสมัยแล้ว ยังเป็นวัดที่มีโบราณสถานอยู่หลายแห่ง แม้ว่า
๕
สถาปัตยกรรมโบราณ เช่น สิมเก่า จะถูกรื้อถอนไปแล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ แต่ก็ยังมี
โบราณสถานอื่น ๆ ในเขตสังฆาวาส คือ กุฏิโบราณ ซึ่งมีความงดงามในเชิงช่างอย่าง
๑ ภูมิล�าเนาของท่าน คือ บ้านกวางค�า ต�าบลกวางค�า อ�าเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ตามค�าบอกเล่าของพระพรหมมุนี (ติสฺโส อ้วน) ปัจจุบันยังถือว่าท่านเป็นปฐมเจ้าอาวาสของ
วัดกวางค�าอีกด้วย
๒ สมณศักดิ์แบบล้านช้าง เทียบ “เจ้าคณะจังหวัด” หรือ “เจ้าคณะเมือง” ในเมืองหนึ่งมีได้รูป
เดียว พระโพธิวงศาจารย์ (ติสฺโส อ้วน) กล่าวไว้ใน “ท�าเนียบสมณศักดิ์ของชาวเมืองเวียงจันทน์โบราณ”
ว่า “...เป็นต�าแหน่งส�าคัญ เปรียบด้วยหลักที่หล่อด้วยทองค�า เป็นของที่มั่นคงแน่นหนาไม่คลอนแคลน
ผู้ที่จะได้ด�ารงต�าแหน่งนี้ ต้องเป็นผู้มีธรรมเป็นหลัก หวังจักมั่นคงในอันประกอบศาสนกิจ...” บ้างก็เรียก
“เจ้าหัวคูหลักค�า” หรือ “เจ้าหัวคูหลวง”
๓ เป็นต�าแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์อีกต�าแหน่งหนึ่ง แต่เน้นว่าเป็นผู้แตกฉานในภูมิปริยัติ
ธรรม กล่าวคือ ส�าเร็จมูลกัจจายน์ หรือสามารถตั้งส�านักการสอน ดังที่ปรีชา พิณทอง กล่าวไว้ใน
การศึกษาของคณะสงฆ์เมืองอุบลราชธานี ว่า “...ยศของพระสงฆ์ที่ชื่อธรรมบาลนี้ ทราบความว่า
ปกครองธรรม คือเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีความรู้ มีความฉลาด มีความสามารถและมีความเด็ด
ขาด โดยเฉพาะได้แก่ผู้เรียนมูลกัจจายน์จบ และตั้งโรงเรียนสอนมูลกัจจายน์...” มูลกัจจายน์เป็นคัมภีร์
และวิธีการเรียนการสอนในอดีตของอีสานและล้านช้าง จุดประสงค์เพื่อเข้าใจภาษาบาลีอย่างถ่องแท้
๔ คือการสอนปริยัติธรรม และหนังสือไทย พร้อมกับศิลปกรรมแบบภาคกลางที่มาผสมผสาน
กับศิลปะพื้นเมือง หลักฐานที่ยังเหลือมาทุกวันนี้ อันถือว่าเป็นฝีมืออ�านวยการสร้างของพระคุณท่าน
คือ หอพระพุทธบาท กับหอพระไตรปิฎก วัดทุ่งศรีเมือง และกุฏิแดง วัดมณีวนาราม
๕ พระมหาเถระที่เป็นเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม ล้วนเป็นพระสังฆาธิการชั้นผู้ใหญ่ เคยด�ารง
ต�าแหน่ง รองเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอ�าเภอ เจ้าคณะต�าบล ทั้งสิ้น รูปส�าคัญ
เช่น พระอริยวงศาจารย์ฯ (สุ้ย) อาชญาท่านธรรมบาล (ผุย ธมฺมปาโล) พระครูวิจิตรธรรมภาณี
(พวง ธมฺมทีโป/นิลค�าอ่อน) และพระธรรมเสนานี (กิ่ง มหปฺผโล/นิลด�าอ่อน)
วัฒนศิลปสาร 7