Page 103 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 103
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 95
๒.๔ มณฑปบรรจุอัฐิพระครูชิโนวาทสาทร
มณฑปบรรจุอัฐิ รูปเหมือน สัญญาบัตรพัดยศ และภาพถ่าย
ของพระครูชิโนวาทสาทร (ปภสฺสโร อุทัย มีแก้ว ป.ธ.๔) เจ้าอาวาสรูปที่ ๗ ของ
วัดไชยมงคล
๓. ประวัติความเป็นมา
วัดไชยมงคลเป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ล�าดับที่ ๔ ของเมือง
อุบลราชธานี มีเนื้อที่ ๑๔ ไร่ ๓ งาน ๘๙.๗ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือจด
ถนนพโลชัย ทิศตะวันออกจดซอยพโลชัย ๑ ทิศใต้จดถนนสุรศักดิ์ ทิศตะวันตก
จดบ้านพักข้าราชการและที่ดินเอกชน
วัดไชยมงคลสร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๔๑๕ โดยเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์
(เจ้าหน่อค�า) เจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ที่ ๔ (องค์สุดท้าย) เมื่อรัชกาลที่ ๔
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองใน พ.ศ. ๒๔๐๙ ท่านเดินทางจากลาวมา
พักพลที่ใต้ต้นโพธิ์ในบริเวณนี้ก่อนจะเข้าเมือง เมื่อเข้าครองเมืองแล้วจึงสร้าง
วัดขึ้นในที่ที่ได้มาพักเอาชัยครั้งแรกนี้ (บ�าเพ็ญ ณ อุบล ๒๕๕๓: ๑๕๑-๑๕๒)
กับทั้งเมื่อท่านได้รับค�าสั่งให้ยกทัพไปปราบฮ่อที่เวียงจันทน์-หนองคายเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๑๘ ได้ระดมพลตั้งทัพในบริเวณนี้อีกเพราะร่มรื่นเป็นชัยภูมิดี เมื่อกลับ
มาแล้วจึงสร้างวัดนี้ขึ้นเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะและเป็นมงคลให้นามว่า
วัดไชยมงคล (พระจตุรงค์ ญานุตฺตโม ๒๕๓๘: ๗-๘) อาราธนาญาท่านสิงห์
(ท่านสีโห) จากวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก อัญเชิญ
พระพุทธรูปส�าริดศิลปะล้านช้างปางเปิดโลกชื่อ พระทอง (ถูกโจรกรรมเมื่อราว
พ.ศ. ๒๕๔๐) และปางมารวิชัย ๒ องค์ที่ได้มาจากเวียงจันทน์คราวสงครามปราบ
ฮ่อมาไว้ที่วัดนี้ด้วย ส่วนพระทองทิพย์อัญเชิญไปไว้ที่วัดศรีทอง (บ�าเพ็ญ
ณ อุบล ๒๕๕๓: ๑๕๒) มีพระปราบไพรีพินาศเป็นพระพุทธรูปประจ�าวัด ได้รับ
พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๙ กว้าง ๒๐ เมตร
ยาว ๔๐ เมตร