Page 105 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 105

วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี  97


            ร.๕ ม.๒.๑๒ ก/๓ [๖๙} ๒๔๒๘: ๑๒๑-๑๒๒)

                  ๔.๒ ที่ตั้งวัดไชยมงคลมีชัยภูมิดีและเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปส�าคัญ
            ก่อนที่เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์จะยกทัพไปปราบฮ่อที่เมืองหนองคาย
            ได้ตั้งรวมพลตั้งทัพที่ต้นโพธิ์ต้นไทรบริเวณนี้ เมื่อได้ชัยชนะกลับมาจึงสร้างวัดขึ้น

            และอัญเชิญพระพุทธรูปจากเวียงจันทน์กลับมาด้วย ๘-๙ องค์ประดิษฐานไว้
            ที่วัดแห่งนี้

                  ๔.๓ เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ เจ้าเมืองอุบลราชธานีเป็นผู้สร้างวัด
            ไชยมงคล ท่านมีศักดิ์เป็นหลานของเจ้าอนุวงศ์ เป็นเหลนของพระเจ้าสิริบุญสาร
            กษัตริย์ล้านช้างแห่งนครเวียงจันทน์ เป็นพี่ชายของเจ้าจอมมารดาดวงค�าใน

            รัชกาลที่ ๔ และเป็นต้นสกุล พรหมโมบล
                  ๔.๔ วัดไชยมงคลเป็นหนึ่งใน ๒๒ วัดที่ร่วมจัดเทศน์ธรรมัสสวนะสามัคคี

            ของเมืองอุบลราชธานี ในช่วงเข้าพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ โดย
            เวียนไปตามวัดทั้ง ๒๒ วัด เริ่มจากวัดมณีวนาราม สิ้นสุดที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
            เป็นงานบุญส�าคัญเฉพาะของเมืองอุบลราชธานี


            ๕. ภาพประกอบ
                  ภาพประกอบถ่ายโดย ปกรณ์ ปุกหุต และณัฐพงค์ มั่นคง เมื่อวันที่ ๒๓

            ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ และ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒

            ๖. เกร็ดเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัด
                  ๖.๑ สิมเก่าของวัดไชยมงคลสร้างราว พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นสิมปูน กว้าง

            ๓ เมตร ยาวราว ๖-๘ เมตร ฝาผนังเป็นฝาไม้ขัดแตะ สันนิษฐานว่าสร้างหลัง
            ยุคญาท่านสิงห์เป็นเจ้าอาวาส

                  ๖.๒ แต่เดิมในบริเวณวัดไชยมงคลมีต้นไม้มาก ได้แก่ หมาก มะพร้าว
            กระท้อน ได้จ�าหน่ายผลน�าเงินมาปฏิสังขรณ์วัดด้วย
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110