Page 132 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 132
124 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
มีใจใสสัทธาได้สร้างได้สร้างพระพุทธรูปไว้กับศาสนาองค์หนึ่ง คิดเป็นเงินซื้อค�า
หกสลึง ขอให้ทั้งปวงได้ส�าเร็จซึ่งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัตินีพานะสมบัติเป็นนั้น
ก็ข้าเทอญ”
๒.๔ พระพุทธรูปไม้ปางมารวิชัย
พระพุทธรูปไม้ปางมารวิชัย ฐานด้านหลังเคยมีห่วงเหล็กส�าหรับ
ปักฉัตรแต่สูญหายไป สภาพช�ารุด ทาสีสองเพราะถูกปลวกกินบางส่วน
๒.๕ พระพุทธรูปศิลา
พระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ที่ฐานมีผ้าทิพย์ ฝีมือช่างพื้นบ้าน
๒.๖ พระพุทธรูปโลหะ
พระพุทธรูปส�าริด ปางมารวิชัย ฝีมือช่างพื้นเมือง
๒.๗ พระพุทธรูปไม้
พระพุทธรูปไม้แกะสลัก ฝีมือช่างพื้นเมือง ฐานสลักลายดอกคล้าย
ผ้าทิพย์
๒.๘ ขาตั้งตาลปัตรลายรดน�้า
๓. ประวัติความเป็นมา
วัดทองนพคุณเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๑๐ ไร่
๑ งาน ๓๐ เศษ ๙ ส่วน ๑๐ ตารางวา อาณาเขตทิศตะวันออกจดถนนชยางกูร
ทิศเหนือจดถนนสุริยาตร์ ทิศตะวันตกจดถนน นพคุณ และทิศใต้จด
ถนนสรรพสิทธิ์
วัดทองนพคุณตั้งเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๒๐ เจ้าราชบุตร (หนูค�า) อาญาสี่
เมืองอุบลราชธานีเป็นผู้ถวายที่ดินสร้างวัดเพื่ออุทิศแด่นางทอง มารดาของท่าน
จึงได้ชื่อว่าวัดทองนพคุณตามนามมารดาของเจ้าราชบุตร (นิล พันธุ์เพ็ง ๒๔๗๗:
๑๓๕) ปัจจุบันที่วัดด้านติดถนนชยางกูรเป็นห้องแถวให้เช่าเก็บรายได้ส่ง
ส�านักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด