Page 131 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 131

วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 123


                                     วัดทองนพคุณ


            ๑. ที่ตั้ง
                  เลขที่ ๒๙๘ ถนนสรรพสิทธิ์ ต�าบลในเมือง อ�าเภอเมืองอุบลราชธานี

                  จังหวัดอุบลราชธานี
                  พิกัด (UTM หรือละติจูด/ลองจิจูด) ๑๕.๒๓๖๕๒๑, ๑๐๔.๘๕๓๕๘๖


            ๒. ประเภทแหล่งศิลปกรรม โบราณสถานและโบราณวัตถุ
                  วัดทองนพคุณ มีเสนาสนะและอาคารต่าง ๆ ได้แก่ อุโบสถ วิหารนพคุณ
            (ศาลาการเปรียญ) หอระฆัง กุฏิ ศาลาเอนกประสงค์ เมรุ ศาลาบ�าเพ็ญกุศล

            และประตูโขง ๒ ประตู (ทิศใต้ และทิศตะวันออก) โบราณสถาน โบราณวัตถุ
            และศิลปวัตถุที่ส�าคัญมี ดังนี้

                  ๒.๑ อุโบสถ
                        อุโบสถวัดทองนพคุณสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๕๐๐ กว้าง ๖ เมตร
            ยาว ๑๔ เมตร ก่อด้วยอิฐเสริมปูน โครงหลังคาไม้ตะเคียน มุงกระเบื้องสี

            ประตูหน้าต่างไม้ตะเคียน  มีก�าแพงแก้วก่อด้วยอิฐรอบอุโบสถ  สิ้นเงิน
            ๑๕๐,๐๐๐ บาท นายหล้า จันทรวิจิตร ลูกศิษย์ของพระครูวิโรจน์รัตโนบล

            (รอด นนฺตโร) และเป็นบิดาของนายอุส่าห์ จันทรวิจิตร
                  ๒.๒ พระประธานหอแจกหลังเดิม
                        พระประธานหอแจกหลังเดิมเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย

            ทาสีขาวแล้วทาสีทองเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ ฝีมือช่างท้องถิ่น
                  ๒.๓ พระพุทธรูปปั้นรักสมุก

                        พระพุทธรูปปั้นรักสมุกเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทาสีทอง
            ฐานเขียนลายรดน�้า ฐานด้านหลังมีจารึกอักษรไทยน้อย ๗ บรรทัดความว่า
            “เจ้าพิกขุคูเพ็งเป็นผู้ลิจนาขอให้ส�าเร็จพระนีพานอรหันตามรรคญาณองค์

            ประเสริฐนั้นเทิน จารคงพร้อมใจกันกับปิดดามาดาบุตรภรรยาคณะญาติทั้งปวง
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136