Page 179 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 179
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 171
ชาวบ้านเรียกท่านว่าพระเจ้าวิเศษ สร้างขึ้นพร้อมกันกับพระเจ้า
ประเสริฐ ซึ่งคุณพ่อจันทิม ถิรวัฒน์ ได้บันทึกไว้ว่า ในวันเททองหล่อมีปาฏิหาริย์
ต่าง ๆ เมื่อทุบดินข้างนอกที่หุ้มออกก็ปรากฏองค์พระปฏิมากรที่สมบูรณ์
ทองแล่นไปทั่วถึงไม่มีที่แหว่งเว้าน่าอัศจรรย์ยิ่ง บรรดาช่างหล่อบอกว่าประเสริฐ
จริง ๆ วิเศษจริง ๆ ที่แล้ว ๆ มาต้องมีขาดมีเกิน มีแหว่ง มีเว้า บางที่ทองวิ่งไม่ทั่ว
ท�าให้มีช่องโหว่ต้องปะอุดจึงจะใช้ได้ แต่นี่ไม่มีเลยแม้แต่ตามดตาแมง จึงเป็นที่มา
ของชื่อพระเจ้าวิเศษ พระเจ้าประเสริฐ อันที่เป็นองค์แสน คงหมายถึงน�้าหนัก
พระ “หนักเป็นแสน” ผู้สร้างคือหลวงทิพย์ ร่วมกับแม่กองศักดิ์และผู้มีศรัทธา
ประดิษฐานเป็นพระประธานในสิมวัดหนองยาง เมื่อยุบวัดหนองยางแล้วจึง
อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ สิมวัดปทุมมาลัยซึ่งอยู่ใกล้กัน วัดหนองยางยุบไปหลัง
ปี พ.ศ. ๒๔๒๘ เพราะใบบอกของราชการ พ.ศ. ๒๔๒๘ ยังระบุว่ามีการนิมนต์
พระสงฆ์จากวัดหนองยางไปรับไทยธรรมในพิธีถือน�้าพระพิพัฒน์สัตยาที่วัดหลวง
เมื่อวัดปทุมมาลัยรื้อสิมเก่าจึงอัญเชิญพระเจ้าวิเศษขึ้นประดิษฐานในสิมใหม่
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ เนื่องจากเคลื่อนย้ายหลายครั้งฐานพระจึงช�ารุดไปบางส่วน
๒.๒ พระเจ้าประเสริฐ
พระเจ้าประเสริฐเป็นพระพุทธรูปส�าริดปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ
หน้าตักกว้าง ๑๓ นิ้ว ทาสีทอง ฐานด้านหลังมีห่วงปักฉัตร ๒ ห่วง สร้างขึ้นพร้อม
กับพระเจ้าวิเศษ
๒.๓ ตู้พระธรรม
ตู้พระธรรมเก็บคัมภีร์ใบลาน มี ๒ หลัง หลังแรกปิดทองลายฉลุ
ตกแต่งด้วยกระแหนะที่ส่วนบัวคว�่าบัวหงาย หลังที่ ๒ เป็นตู้ไม้ธรรมดา คัมภีร์
ใบลานมัดห่อไว้อย่างเป็นระเบียบ
๒.๔ คันทวยไม้
คันทวยไม้แบบศิลปะล้านช้างสลักลายก้านขดหรือลายผักกูด
มีเพียงคันเดียวจึงสันนิษฐานว่า น�ามาจากที่อื่น