Page 180 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 180

172 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


               ๒.๕ รูปหล่อบูรพาจารย์

                     รูปหล่อบูรพาจารย์มี ๒ องค์ คือ พระเมธีรัตโนบล (พันธ์ โพธิโก)
          และพระครูนวกิจโสภิต (เพ็ง พนฺธโว)

          ๓. ประวัติความเป็นมา

               วัดปทุมมาลัยเป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๑๕ ไร่
          ๑๐ งาน ๑ ตารางวา อาณาเขตทิศใต้จดถนนสรรพสิทธิ์ (มีห้องแถวหน้าวัดให้

          เอกชนเช่า ๒๐ ห้อง) ทิศตะวันออกจดซอยสรรพสิทธิ์ ๔ ทิศเหนือจดถนนสุริยาตร์
          และทิศตะวันตกจดซอยสรรพสิทธิ์ ๖
               ในอดีตเคยมีวัดหนองยางตั้งอยู่ใกล้บริเวณนี้ (คือที่ตั้งของโรงเรียนอุบล

          วิทยาคมในปัจจุบัน) เป็นวัดเก่าแก่ฝ่ายอรัญวาสี ตั้งอยู่ริมหนองน�้าที่มีบัวจ�านวน
          มาก มีต้นยางนา ต่อมาวัดนี้ไฟไหม้จึงยุบไป ราว พ.ศ. ๒๔๒๕ มีผู้ถวายที่ดินเพื่อ

          สร้างวัดปทุมมาลัยคือ พระปทุมธานี (เหลี่ยม) กรมการเมืองอุบลราชธานี กับ
          นายฉ่องและนางบุญช่วย ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.
          ๒๔๒๕ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕

               ที่มาของชื่อวัดปทุมมาลัย อาจมาจากตั้งอยู่ใกล้หนองน�้าที่มีบัวมากจึง
          ตั้งชื่อวัดแต่เดิมว่า วัดปทุมวัน ให้สอดคล้องกับวัดมหาวัน (วัดมหาวนาราม

          หรือวัดป่าใหญ่) และวัดมณีวัน (วัดมณีวนารามหรือวัดป่าน้อย) ภายหลังจึง
          เปลี่ยนชื่อเป็นวัดปทุมมาลัย หรืออาจจะมาจากชื่อผู้ถวายที่ดินสร้างวัดคือ
          พระปทุมธานี (เหลี่ยม)

               เจ้าอาวาส เจ้าอาวาสวัดปทุมมาลัยนับถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มี ๙ รูป ดังนี้
                     ๑) พระครูสิงห์ (อาชญาครูสิง หรือญาท่านสิงห์) เจ้าคณะแขวง

          อ�าเภออุตรูปลนิคม (อ�าเภอม่วงสามสิบ) พ.ศ. ๒๔๔๔
                     ๒) อาจารย์เงิน
                     ๓) จารย์ครูศรี
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185