Page 261 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 261
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 253
วัดสว่างอารมณ์
๑. ที่ตั้ง
เลขที่ ๕๖๑ ถนนสรรพสิทธิ์ ต�าบลในเมือง อ�าเภอเมืองอุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานี
พิกัด (UTM หรือละติจูด/ลองจิจูด) ๑๕.๒๓๕๔๒๐, ๑๐๔.๘๕๐๔๑๒
๒. ประเภทแหล่งศิลปกรรม โบราณสถานและโบราณวัตถุ
วัดสว่างอารมณ์ มีเสนาสนะและอาคารต่าง ๆ ได้แก่ อุโบสถ หอพระ
มหากัจจายนะเถระ ศาลา ๑ พิพัฒนสุนทโรบลสามัคคี ศาลา ๒ พิพัฒนสุนท
โรบลสามัคคี หอระฆังชัยอุบลวัฒนา ศาลาเฉลิมพระเกียรติฉลองครองราชย์
ครบ ๖๐ พรรษา ศาลาข้างเมรุ กุฏิ เมรุ แลประตูโขง ๒ ประตู (ทิศเหนือ
และทิศตะวันตก) โบราณสถาน โบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่ส�าคัญ ดังนี้
๒.๑ พระมหากัจจายนะเถระ
พระมหากัจจายนะเถระแกะสลักจากศิลา เป็นพระสังกัจจายนะที่
เก่าแก่มากของเมืองอุบลราชธานี มีประวัติว่าไหลลอยมาในแม่น�้ามูลมาหยุดที่
น�้าเวินหรือมูลหลง (เกาะบุ่งกาแซว) ชาวประมงบ้านบุ่งกาแซวอัญเชิญขึ้นบนบก
จะน�าไปถวายวัดสุปัฏนารามและวัดศรีทอง แต่ทั้งสองวัดไม่รับ จึงอัญเชิญมา
ถวายญาท่านดวน เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกแล้วท่านจึง
ลาสิกขาไป เจ้าอาวาสรูปถัดมาคือญาท่าน พ้วย เห็นความศักดิ์สิทธิ์ของพระมหา
กัจจายนะเถระจึงอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่หัวนอน เจ้าอาวาสรูปต่อมา คือ
ญาท่านเพ็งและพระครูสิริกิจจานุยุตได้สร้างหอพระประดิษฐานไว้ เป็นที่เคารพ
ศรัทธาของชาวบ้านสว่างมาจนถึงปัจจุบัน
๒.๒ เศียรพระพุทธรูปและจารึกประวัติวัด
เศียรพระพุทธรูปศิลาประดิษฐานบนเสาก่ออิฐถือปูนใกล้อุโบสถ
ศิลปะทวารวดีไม่ทราบอายุ ที่เสามีจารึกประวัติวัดสว่างอารมณ์เป็นอักษรไทย