Page 256 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 256

248 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


          ตะวันตก ด้านหลังสร้างเป็นพระธาตุพนมจ�าลอง สิ้นงบประมาณ ๑๘ ล้านบาท

          แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์มีการต่อเติมทับหลังแกะสลักและประตูแกะสลักโดย
          นางกฤษณา หาส�ารี เป็นช่าง ช่างสร้างนาคบันไดคือ นายอธิวัฒน์ จันทรวิจิตร
          พร้อมตกแต่งลวดลายโบสถ์ ใน พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนการตกแต่งเพิ่มเติม

          และสร้างซุ้มใบเสมา ๘ ซุ้มรอบอุโบสถเป็นฝีมือนายหนูจันทร์ นิสาธรณ์
               ที่ดินวัดแต่เดิมมี ๖ ไร่ ๓ งาน ๘๓ ตารางวา ต่อมาได้ซื้อเพิ่มเติมจาก

          นางโกสุม อุณหสุวรรณ ๓ งาน ๘๓ ตารางวา และนายโฮม บุญจรัส ถวายที่ดิน
          ด้านทิศใต้และทิศตะวันออกอีก ๓ ไร่ รวมเป็น ๙ ไร่ ๕๕ ตารางวา ชื่อวัดศรีประดู่
          มาจากชื่อหมู่บ้านดู่

               เจ้าอาวาส ก่อนจะยกฐานะขึ้นเป็นวัด มีพระเทพกิตติมุนี (สมเกียรติ
          สมกิตฺติ ป.ธ. ๖) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี และอดีตเจ้าอาวาสวัดมหา

          วนาราม ขณะเป็นที่พระครูกิติยาภรณ์โกศล เลขานุการเจ้าคณะจังหวัด
          อุบลราชธานี เป็นประธานสงฆ์รูปแรกของวัดศรีประดู่ทรงธรรม (ส�านักสงฆ์)
          ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ เมื่อเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เจ้าอาวาสวัดศรีประดู่

          นับถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มี ๒ รูป ได้แก่
                     ๑) พระครูสิริพัฒนวิมล (ผิน อิสิญาโณ สมบูรณ์ น.ธ.โท) ครองวัด

          พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๓๙
                     ๒) พระครูถิริธรรมสิริ (จรูญ ถิรธมฺโม น.ธ.เอก, พธ.บ.) ครองวัด
          พ.ศ. ๒๕๓๙-ปัจจุบัน

               ด้านการปกครอง พระครูวุฒิธรรมบัณฑิต (จิตนเรศ วุฑฺฒิธมฺโม ศรีปะโค
          ป.ธ.๔, รศ.ดร.) เป็นรองเจ้าอาวาส วัดศรีประดู่ พ.ศ. ๒๕๖๒ มีพระภิกษุ ๒๓ รูป

          สามเณร ๑๕ รูป
   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260   261