Page 18 - แม่ดีเด่นราชภัฏ ประจำปี ๒๕๖๖ : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 18
ประวัติความเป็นมา
ของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทยพระราชประวัติ
งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ณ สวนอัมพร โดยกระทรวง
สาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงคราม
สงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยน
กำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีได้มีมติ
เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ประกาศให้วันที่ ๑๕ เมษายนของทุกปี เป็นวันแม่ โดยเรียกว่า
“วันแม่ของชาติ” และมอบหมายให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้จัดงาน แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปี
ต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูก ยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่
ขาดผู้สนับสนุน
ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ ๔ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๑๕ แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ คณะกรรมการอำนวยการ
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน
โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
พันปีหลวง วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่
คือ “ดอกมะลิ” นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ประวัติดอกไม้วันแม่
ดอกไม้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นดอกไม้วันแม่ คือ ดอกมะลิ โดยมีความหมายดังนี้
๑. ดอกมะลิมีสีขาว เปรียบเหมือนความรักแท้ที่ยิ่งใหญ่ และบริสุทธิ์ของแม่
๒. ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสรรพคุณเป็นเครื่องหอมบำรุงหัวใจ เปรียบเหมือนความรักของ
แม่ที่มีความเมตตา และทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ
๓. ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่ออกดอกตลอดทั้งปี เปรียบเหมือนความรักของแม่ที่ไม่มีที่สิ้นสุด
๔. ดอกมะลิมีกลิ่นหอมได้ไกลและหอมนาน เปรียบเหมือนความรักของแม่ที่ยั่งยืนถาวร
๑๖