Page 13 - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เพชรราชธานี ประจำปี ๒๕๖๓ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 13

อัครศิลปิน




                      พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นเลิศใน

               ศิลปะหลายสาขา เป็นต้นว่า จิตรกรรม ประติมากรรม ถ่ายภาพ หัตถศิลป์ ดนตรี วรรณศิลป์ วาทศิลป์ และ
               ภูมิสถาปัตยกรรม ทรงได้รับการยกย่องสดุดีในพระเกียรติคุณเป็นที่ประจักษ์ชัด บรรดาศิลปินต่างตระหนักใน

               พระปรีชาสามารถอย่างหาที่เปรียบมิได้ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจึงเห็นชอบพร้อมกันเป็นเอกฉันท์
               เห็นสมควรเทิดพระเกียรติให้เป็นที่ปรากฏแก่พสกนิกรและชาวโลก โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถวาย
               พระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” อันมีความหมายเหมาะสมตามคติประเพณีที่ถือว่าพระมหากษัตริย์กอปรด้วย

               พระมหิทธานุภาพเหนือศิลปินทั้งหลาย
                      ค�าว่า “อัครศิลปิน” หากแปลตามศัพท์หมายความว่า “ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ” หรือ “ผู้เป็นใหญ่ใน

               ศิลปิน” พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นเลิศในศิลปะ
               ทั้งมวล ทรงได้รับการยกย่องสดุดีพระเกียรติคุณในพระปรีชาสามารถอย่างหาที่เปรียบมิได้ เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่
               พสกนิกรชาวไทยและศิลปินทั่วโลก นอกจากนี้ ทรงเป็นองค์อัคราชูปถัมภกของเหล่าศิลปินทั้งหลายและของวงการ

               ศิลปะทุกแขนงมาโดยตลอด
                      โดยเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๙ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้น้อมเกล้า

               น้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย “โล่อัครศิลปิน” แด่พระบาท
               สมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ พระต�าหนักจิตรลดารโหฐาน
               พระราชวังดุสิต โดยทรงมีรับสั่งขอบใจที่ยกย่องพระองค์เป็นอัครศิลปิน และได้พระราชทานพระบรมราโชวาท

               ความว่า



                “คนที่ท�างานศิลปะก็ต้องรู้เรื่องวิชาการ และรู้หลักทางวิทยาศาสตร์ เพื่อจะได้เป็นแบบแผนต่าง ๆ ต่อไป
                                     งานวิชาการก็ท�านองเดียวกัน จะต้องรู้หลักวิทยาศาสตร์
                              ในขณะเดียวกันก็ต้องมีใจทางศิลปะจึงจะสามารถพัฒนางานนั้นให้ดีไปได้

                และในทางวิทยาศาสตร์ก็ท�านองเดียวกัน ต้องมีความรู้ด้านวิชาการ และต้องมีใจรัก ตั้งใจท�าอะไรให้ดีขึ้น
                    สรุปว่า ทั้งสามส่วนเป็นความส�าคัญซึ่งต้องเกี่ยวเนื่องกัน งานศิลปะมีความส�าคัญต่องานทั้งปวง

                               ศิลปินเป็นบุคคลที่มีความส�าคัญ สมควรจะยกย่องเชิดชูเกียรติต่อไป”























                                                                                เพชรราชธานีี        11
                                    รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำาปีพุทธศักราช ๒๕๖๓
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18