Page 32 - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เพชรราชธานี ประจำปี ๒๕๖๓ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 32

ค�ำประกำศเกียรติคุณ

                                           นำยอรุณศิลป์ ดวงมูล


                                ผู้มีผลงำนดีเด่นทำงวัฒนธรรม สำขำดุริยำงคศิลป์

                                             ประจ�ำปีพุทธศักรำช ๒๕๖๓






                      นายอรุณศิลป์ ดวงมูล เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ที่อ�าเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ปัจจุบัน

               อายุ ๖๙ ปี เป็นผู้สืบสานการประดิษฐ์เครื่องดนตรีพื้นบ้านแบบโบราณที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนานกว่า
               ๕๐ ปี มีความรู้ความช�านาญในการประดิษฐ์เครื่องดนตรีพื้นบ้านทั้งสะล้อ และปิน (ซึง) ทั้งยังมีความสามารถ
               บรรเลงดนตรีประกอบการขับซอ จนได้รับการยกย่องให้เป็น “พ่อครูดนตรีแห่งล�าน�้าน่าน”

                      นายอรุณศิลป์ ดวงมูล มีความสนใจและศึกษาศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนามาตั้งแต่เด็กจนมี
               ความเชี่ยวชาญ โดยได้ฝากตัวเป็นศิษย์เรียนรู้ศาสตร์การขับซอล่องน่านและบรรเลงดนตรี สะล้อ ปิน (ซึง) กับ

               พ่อครูไชยลังกา เครือเสน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ และได้
               สืบทอดเจตนารมณ์การขับซอโดยการตั้งคณะซอล่องน่านชื่อ “คณะซออรุณศิลป์” มีฉายาศิลปินในวงการว่า
               “พ่อหนานลูน” ได้รับการยกย่องว่าเป็นช่างซอที่มีเสียงไพเราะ มีปฏิภาณไหวพริบและความสามารถในการ

               ประพันธ์บทซอ มีความรู้ในการประกอบพิธีกรรมคายอ้อ เป็นผู้คิดค้นพัฒนาประดิษฐ์สะล้อและปินให้มีระบบเสียง
               ที่ดีขึ้น ประยุกต์ใช้ลูกบิดกีต้าร์แทนลูกบิดไม้โบราณ เพื่อรักษาระดับเสียงให้คงที่และง่ายต่อการปรับเสียง และได้

               ปรับปรุงส่วนหัวของคันทวนสะล้อจากแบบกลมธรรมดา เป็นการแกะสลักไม้รูปหัวพญานาคอย่างงดงามอ่อนช้อย
               จึงถือได้ว่าเป็นศิลปินพื้นบ้านที่สร้างคุณูปการต่อการพัฒนาให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบที่ดีขึ้นจนกลาย
               เป็นอัตลักษณ์ของสะล้อ และปิน อันโดดเด่นประดับวงการขับซอเมืองน่าน นอกจากนี้ นายอรุณศิลป์ ดวงมูล

               ยังเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาให้แก่ลูกหลาน เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสานศิลปะ
               การแสดงพื้นบ้านล้านนาให้ยั่งยืนคงอยู่เป็นสมบัติของชาติ ทั้งยังเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียนนักศึกษาตาม

               สถาบันการศึกษา และสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาที่บ้านของตนเอง จนได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น
               ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ ๔ ด้านศิลปกรรม (ดนตรีพื้นบ้านล้านนา) จากส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
                      นายอรุณศิลป์ ดวงมูล จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม

               สาขาดุริยางคศิลป์ ประจ�าปีพุทธศักราช ๒๕๖๓








                  30      เพชรราชธานีี
                          รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำาปีพุทธศักราช ๒๕๖๓
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37