Page 34 - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เพชรราชธานี ประจำปี ๒๕๖๓ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 34

ประวัติชีวิตและผลงำน


                                             นำยอรุณศิลป์ ดวงมูล


                                  ผู้มีผลงำนดีเด่นทำงวัฒนธรรม สำขำดุริยำงคศิลป์
                                              ประจ�ำปีพุทธศักรำช ๒๕๖๓






                      นายอรุณศิลป์ ดวงมูล เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ที่บ้านซาวหลวง ต�าบลบ่อสวก อ�าเภอ

               เมืองน่าน จังหวัดน่าน ปัจจุบันอายุ ๖๙ ปี



               ประวัติการศึกษา
                      พ.ศ. ๒๕๐๕ ส�าเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านซาวหลวง อ�าเภอเมืองน่าน

               จังหวัดน่าน
                      พ.ศ. ๒๕๐๙ พระครูโสภณสมจารย์ เจ้าอาวาสวัดมงคล พี่ชายคนที่ ๓ ได้ฝากให้เป็นศิษย์เรียนขับซอ

               และฝึกสะล้อ ปิน (ซึง) กับพ่อครูไชยลังกา เครือเสน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน)
               พุทธศักราช ๒๕๓๐



               ประวัติการท�างาน
                      พ.ศ. ๒๕๒๐–ปัจจุบัน  ประธานศูนย์การเรียนรู้ บ้านซาวหลวง อ�าเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

                      พ.ศ. ๒๕๔๕–๒๕๕๕  นายกสมาคมศิลปินพื้นบ้านจังหวัดน่าน (ขับซอ)
                      พ.ศ. ๒๕๔๕–ปัจจุบัน  คณะกรรมสภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน
                      พ.ศ. ๒๕๕๙–ปัจจุบัน  ประธานสภาวัฒนธรรมต�าบลบ่อสวก อ�าเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

                      ปัจจุบัน            ที่ปรึกษาสมาคมศิลปินพื้นบ้านจังหวัดน่าน



               ผลงานการแสดงและการเผยแพร่

                      นายอรุณศิลป์ ดวงมูล เริ่มสนใจดนตรีตั้งแต่เป็นเด็กอายุประมาณ ๖-๗ ขวบ เนื่องจากได้เห็นได้ฟังบิดา
               ดีดปิน (ซึง) จึงได้ซึมซับเสียงดนตรีเหล่านั้น และในบางครั้งบิดาก็ได้สอนให้บ้างเล็กน้อย จึงท�าให้เกิดความชื่นชอบ
               ในเสียงของดนตรีสะล้อ ซอ ปิน และเมื่ออายุได้ ๑๖ ปี พระครูโสภณสมจารย์ เจ้าอาวาสวัดมงคล อ�าเภอเมืองน่าน

               พี่ชายคนที่ ๓ ได้ฝากตัวให้เป็นศิษย์เรียนรู้ศาสตร์การขับซอล่องน่านและบรรเลงดนตรี สะล้อ ปิน กับพ่อครู
               ไชยลังกา เครือเสน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พุทธศักราช ๒๕๓๐ โดยได้เรียนและฝึกฝนเป็นระยะ

               เวลาประมาณ ๖ เดือนก็สามารถขับซอได้ พ่อครูไชยลังกาจึงให้ออกขับซอในช่วงท้ายของงานก่อนจะเลิก และ
               มักจะได้ขับซอคู่กับผู้หญิงที่เป็นรุ่นครูและรุ่นพี่ในเนื้อหาการเกี้ยวสาว และได้เริ่มฝึกดีดปิน โดยฝึกฝนด้วยตนเอง
               จากการจดจ�าท�านองซึ่งได้ฟังซ�้า ๆ จนจดจ�าได้ขึ้นใจ จากนั้นจึงได้ขอให้พ่อครูไชยลังกาช่วยสอนวิธีการบรรเลง

               ดนตรีให้ และได้เรียนรู้ฝึกหัดการขับซอ ตลอดจนการบรรเลงสะล้อ ปิน จากพ่อครูไชยลังกา เครือเสน ประมาณ



                  32      เพชรราชธานีี
                          รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำาปีพุทธศักราช ๒๕๖๓
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39