Page 35 - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เพชรราชธานี ประจำปี ๒๕๖๓ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 35

๑ ปี ก็สามารถออกงานร่วมกับสมาชิกของวงไชยมงคล ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “วงไชยลังกา” ตามชื่อหัวหน้าวง
               จนกระทั่งพ่อครูไชยลังกา เครือเสน ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงได้ออกมาตั้งคณะของตนเองขึ้น มีชื่อว่า

               “คณะซออรุณศิลป์” และในบางโอกาสยังได้รับงานร่วมกับพ่อครูค�าผาย นุปิง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
               พุทธศักราช ๒๕๓๘ เนื่องจากวงของพ่อครูค�าผายไม่มีผู้หญิงที่จะขับซอ ทั้งสองจึงรับงานร่วมกันเป็นครั้งคราว
               จนกระทั่งพ่อครูค�าผาย นุปิง ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ คงเหลือเพียงนายอรุณศิลป์ ดวงมูล ผู้ที่ได้สืบทอด

               ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา ด้านการขับซอ และการบรรเลงสะล้อ ปิน จากศิลปินแห่งชาติทั้งสองมาจนถึงทุกวันนี้
                      นอกจากนี้ นายอรุณศิลป์ ดวงมูล ยังเป็นผู้ที่มีบทบาทส�าคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาองค์ความรู้

               ด้านดนตรีพื้นบ้านจังหวัดน่านและการขับซอล่องน่าน โดยได้เป็นผู้คิดริเริ่มการน�าบทเพลงบรรเลง และบทเพลง
               ประกอบการขับซอมาเทียบเป็นตัวโน้ตดนตรีไทย ทั้งในรูปแบบตัวหนังสือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที และรูปแบบ
               ตัวเลข ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ คิดค้นพัฒนาประดิษฐ์สะล้อและปินให้มีระบบเสียงที่ดีขึ้น ประยุกต์ใช้ลูกบิดกีต้าร์แทน

               ลูกบิดไม้โบราณ เพื่อรักษาระดับเสียงให้คงที่และง่ายต่อการปรับเสียง ทั้งยังสร้างหลักสูตรแบบแผนต�าราเรียน
               ซอล่องน่าน รูปแบบฉันทลักษณ์ในการประพันธ์บทซอหลากหลายท่วงท�านอง ให้สอดคล้องต่อกระบวนวิชา

               ภาษาไทยในชั้นเรียน สรรหาค�าศัพท์ใหม่ผสมผสานในการประพันธ์บทซอ เพื่อง่ายต่อการจัดการเรียนรู้ ซึ่งได้รับ
               การยอมรับและประสบผลส�าเร็จเป็นอย่างยิ่งในการเรียนการสอนดนตรีพื้นบ้านจังหวัดน่าน จนมีจ�านวนนักเรียน
               แต่ละโรงเรียนที่มีความสามารถในการบรรเลงดนตรีพื้นบ้าน “สะล้อ ปิน (ซึง)” และ “ขับซอล่องน่าน” เป็นจ�านวนมาก

                      ทั้งนี้ ด้วยความตระหนักและเล็งเห็นถึงความส�าคัญของการขับซอล่องน่านและการบรรเลงดนตรีพื้นบ้าน
               จังหวัดน่าน นายอรุณศิลป์ ดวงมูล จึงเกิดแนวคิดที่อยากจะถ่ายทอดองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาของท้องถิ่นสู่เด็ก

               และเยาวชนรุ่นใหม่ โดยได้เปิดศูนย์การเรียนรู้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านด้านการขับซอล่องน่าน และการบรรเลง
               ดนตรีพื้นบ้านจังหวัดน่าน ที่บ้านของตนเองเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เด็กและเยาวชนตลอดจนผู้ที่สนใจ
               โดยไม่คิดค่าใช่จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น รวมถึงยังได้รับเชิญจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ให้เป็นอาจารย์พิเศษและวิทยากร

               ถ่ายทอดความรู้ด้านการขับซอล่องน่าน และดนตรีพื้นบ้าน สะล้อ ปิน จนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น
               ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ ๔ ด้านศิลปกรรม (ดนตรีพื้นบ้านล้านนา) จากส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา



               ผลงานการแสดงที่ภาคภูมิใจ

                      พ.ศ. ๒๕๔๒ ร่วมแสดงการขับซอล่องน่าน และดนตรีพื้นบ้าน สะล้อ ปิน ในงานน้อมส�านึกในพระ
               มหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระต�าหนักดอยตุง อ�าเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

                      พ.ศ. ๒๕๔๕ ร่วมแสดงการขับซอล่องน่าน และดนตรีพื้นบ้าน สะล้อ ปิน ในงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรม
               เมืองน่าน ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จังหวัดน่าน
                      พ.ศ. ๒๕๔๖, ๒๕๔๙, ๒๕๕๑, ๒๕๕๙ และ ๒๕๖๐ ร่วมแสดงการขับซอล่องน่าน และดนตรีพื้นบ้าน

               สะล้อ ปิน ถวายทอดพระเนตรหน้าพระที่นั่ง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
               สยามบรมราชกุมารี ณ จังหวัดน่าน

                      พ.ศ. ๒๕๕๓ ร่วมแสดงการขับซอล่องน่าน และดนตรีพื้นบ้าน สะล้อ ปิน เนื่องในโอกาสครบรอบ
               ๖๐ ปี ราชาภิเษกสมรสพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้า
               สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนีพันปีหลวง ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า กรุงเทพมหานคร





                                                                                เพชรราชธานีี       33
                                    รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำาปีพุทธศักราช ๒๕๖๓
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40