Page 126 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 126

118 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


          ๔. ความส�าคัญ

               ๔.๑ เป็นวัดหนึ่งในใบบอกเมืองอุบลราชธานีของพระยาราชเสนา
          (ทัด ไกรฤกษ์) หลวงภักดีณรงค์ (สิน ไกรฤกษ์) ขุนพรพิทักษ์ (เคลือบ ไกรฤกษ์)
          มีการนิมนต์พระภิกษุจากวัดนี้ไปเจริญพระพุทธมนต์และรับไทยธรรมที่

          ศาลากลางจังหวัด หลังเสร็จพิธีถือน�้าพระพิพัฒน์สัตยา ณ อุโบสถวัดหลวง เมื่อ
          พ.ศ. ๒๔๒๘ เป็นเวลา ๓ วัน ดังความว่า “นิมลพระภิขุสงฆมหานิกายสิ้นทุกวัด

          คือวัดหลวงวัดหนองยางวัดสว่างวัดเรียบวัดป่าน้อยวัดป่าไหญ่วัดทุ่งวัดไต้วัดท่า
          วัดเหนือวัดกลางรวม ๑๑ วัด จ�านวนพระพิขุสงฆ ๑๖๓ รูป เจริญพระพุทมลต์
          สมโพช พระบรมราชศาทิฉายาลักษณ์” (ใบบอก ร.๕ ม.๒.๑๒ ก/๓ [๖๙} ๒๔๒๘:

          ๑๒๑-๑๒๒)
               ๔.๒ ได้รับรางวัลต่าง ๆ ได้แก่

                     - รางวัลพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร พ.ศ. ๒๕๔๒
                     - รางวัลวัดอุทยานการศึกษาดีเด่น พ.ศ. ๒๕๔๔
                     - วัดพัฒนาตัวอย่าง พ.ศ. ๒๕๔๖

                     - วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น พ.ศ. ๒๕๕๘
               ๔.๓ มีพระบูรพาจารย์หลายรูปเคยจ�าพรรษา เช่น หลวงปู่สีทา ชยเสโน

          หลวงปู่เสาร์ กนตฺสีโล พระปัญญาพิศาลเถร (ฐิตปญฺโญ หนู)
               ๔.๔ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง คือ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ

          ๕. ภาพประกอบ

               ภาพประกอบอยู่ท้ายแบบส�ารวจ ภาพประกอบถ่ายโดย ปกรณ์ ปุกหุต
          และณัฐพงค์ มั่นคง เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑


          ๖. เกร็ดเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัด
               ๖.๑ เมื่อคราวรื้อฐานพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อพบพระพิมพ์ พระว่านจ�าปาสัก
          แบบต่าง ๆ
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131