Page 190 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 190

182 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


               คณะสงฆ์และญาติโยม ได้ก�าหนดพิธีวางศิลาฤกษ์และฝังลูกนิมิตพระธาตุ

          ในวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ในพิธีได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งนาย
          มณี ชื่นนิยม มอบให้บรรจุไว้ในพระเจดีย์จ�านวน ๑๔ องค์ เป็นสัณฐานแบบปลาย
          ข้าวสารหัก และแบบพันธุ์ผักกาด ซึ่งได้มาจากพระธาตุเจดีย์เชียงแสน และทุ่งลอ

          จังหวัดเชียงราย เข้าร่วมในพิธี การบรรจุนั้นวางศิลามงคล และชิ้นส่วน
          พระธาตุพนม (สะเก็ดปูนพระธาตุพนม) (ค�าโพธิ์ ยุวมิตร ๒๕๕๖ : ๖๐ – ๖๕)

          ซึ่งนายค�าโพธิ์ ยุวมิตร ได้อธิษฐานขอมาเมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๙ และ
          ได้บรรจุดวงฤกษ์ ในวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ พระศรีธรรมวงศาจารย์
          (เกสโร ทองจันทน์) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายสนิท

          วิไลจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส (ค�าโพธิ์
          ยุวมิตร ๒๕๕๖ : ๖๖)

               การด�าเนินการก่อสร้างพระธาตุได้ด�าเนินการต่ออย่างยากล�าบาก เมื่อล่วง
          เข้าหน้าฝน มีอุปสรรคหลายประการ พระศาสนดิลก (ญาณชาโล ญาณ ดาโรจน์
          ป.ธ.๕) จึงมอบหมายให้นายทองพูน ยุวมิตร เข้าไปกราบเรียนปรึกษา พระธรรม

          ปิฎก (ธมฺมธโร พิมพ์ แสนทวีสุข ป.ธ.๖) วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เมื่อได้รับค�า
          แนะน�าจากพระคุณท่าน จึงได้ริเริ่มอีกครั้งเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑

          พระศาสนดิลก เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี (ธ) เป็นผู้วางอิฐเป็นปฐมฤกษ์
          ผู้ด�าเนินการเป็นช่าง ได้แก่ พระเหมโก เฮ็ง (ปัญญา) พระปลัดฐานิโย พรหมา
          (ธรรมารักษ์) พระอุสุกโล พรหม (สายกนก) สามเณรทอง สาระคุณ สามเณร

          อ่อนสี กอบบุญ ผู้ควบคุมบัญชีใช้จ่าย คือ พระขุนอุทานระบิล (สอน โพธิ์ศรี)
          ด�าเนินการก่อสร้างเรื่อยมา จนกระทั่งได้มีการยกฉัตรอลูมิเนียม ๕ ชั้น ถวาย

          พระธาตุ แห่จากวัดสุปัฏนารามวรวิหาร มาประดิษฐานเมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม
          พ.ศ. ๒๕๐๑ พระเทพบัณฑิต (ญาณชาโล ญาณ ดาโรจน์ ป.ธ.๕) เจ้าคณะจังหวัด
          อุบลราชธานี (ธ) เป็นประธาน (ค�าโพธิ์ ยุวมิตร ๒๕๕๖ : ๗๒ – ๘๒)
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195