Page 195 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 195
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 187
๒.๗ อนุสรณ์สถานและอนุสาวรีย์ผู้สร้างวัดและพระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์
ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัด ในเขตที่ดินของนายค�าโพธิ์ ยุวมิตร ได้
สงวนไว้จากพินัยกรรมเพื่อใช้สร้างเป็นอนุสรณ์สถานแด่ผู้ริเริ่มสร้างวัดหนองบัว
และพระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ เป็นอนุสาวรีย์กระเบื้องดินเผารูปนูนต�่า ของ
นายทองพูน ยุวมิตร นายค�าโพธิ์ ยุวมิตร นายฟอง สิทธิธรรม และนายเฮ็ง ปัญญา
ผู้เป็นสถาปนิกออกแบบ คือ รศ.วิโรฒ ศรีสุโร (ค�าโพธิ์ ยุวมิตร ๒๕๕๖ : ๑๘๒)
มีป้ายหินอ่อนจารึกข้อความติดไว้ที่อนุสรณ์สถานว่า “อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อ
เป็นที่ระลึกส�าหรับผู้ริเริ่มสร้างพระธาตุวัดหนองบัว สร้างเสร็จเมื่อวันอาทิตย์ที่
๑๑ มี.ค. ๒๕๒๗”
๓. ประวัติความเป็นมา
วัดพระธาตุหนองบัว เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
มีเนื้อที่ ๕๐ ไร่ ๑ งาน ๑๙ ตารางวา มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จรดหมู่บ้าน
ทิศใต้ จรดหนองบัว ทิศตะวันออก จรดถนนหนองบัวพิทักษ์ ทิศตะวันตกจรด
หมู่บ้าน
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่
๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ (ค�าโพธิ์ ยุวมิตร ๒๕๔๗ : ๓๐) เดิมชื่อวัดหนองบัว หรือ
วัดป่ากึ่งพุทธกาล หรือวัดป่าหนองบัว กระทั่งชาวชุมชนคุ้มวัดหนองบัว
ได้แสดงประชามติขอเปลี่ยนชื่อวัด โดยมีเทศบาลนครอุบลราชธานี กรมทหาร
ราบที่ ๖ และประชาชนร่วมกันด�าเนินการ ซึ่งสภาเทศบาลนครอุบลราชธานี
มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนชื่อวัดเสนอตามขั้นตอนของกฏหมาย (ไกด์อุบล,
๒๕๕๙ : เว็บไซต์) ต่อมาส�านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้มีประกาศ เรื่อง
เปลี่ยนแปลงชื่อวัด ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้เปลี่ยนชื่อวัดหนองบัว
เป็นวัดพระธาตุหนองบัว เนื่องจากมีพระบรมสารีริกธาตุและได้อัญเชิญชิ้นส่วน
พระธาตุพนมเลี่ยมทอง มาประดิษฐานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ (ไกด์อุบล ๒๕๖๐ :
เว็บไซต์) วัดหนองบัว ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓