Page 191 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 191
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 183
หลังจากนั้น ได้มีการฉาบปูนและแกะสลักลวดลายประดับองค์พระธาตุ
โดยนายหนู วิริยภาพ เป็นช่างแกะสลักลวดลายติดพระธาตุทั้งสี่ด้าน เป็นรูป
พระประจ�าวันเกิด กลีบบัวส่วนฐานชั้นล่างแกะด้วยมือเป็นเป็นพระพุทธรูปสี่ปาง
วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อุฏฐายี จวน)
สังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่ เป็นประธานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจาก
อินเดีย ซึ่งดั้งเดิมเป็นส่วนที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ประทานไว้แก่
พระธรรมปิฎก (ธมฺมธโร พิมพ์) พร้อมด้วยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล นายทองพูน
ยุวมิตร นายค�าโพธิ์ ยุวมิตร ตลอดจนอุบาสก อุบาสิกาได้บรรจุพระบรม
สารีริกธาตุที่ได้มาก่อนหน้าและสิ่งมงคลต่าง ๆ ให้ครบถ้วนตามระเบียบพิธี
การนี้ได้มีพิธีอัญเชิญเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ จากสถานีรถไฟ
อุบลราชธานี อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบุษบกที่รถยนต์แห่ไปตามถนนสาย
ต่าง ๆ ในอ�าเภอวารินช�าราบ และตลาดเมืองอุบลฯ ก่อนประดิษฐาน ณ วัดพระ
ธาตุหนองบัว ในเส้นทางที่อัญเชิญนั้น มีเฮลิคอปเตอร์ โปรยข้าวตอก ดอกไม้
ถวายสักการะตลอดเส้นทาง (ค�าโพธิ์ ยุวมิตร ๒๕๕๖ : ๙๖ – ๑๐๓)
หลังจากพิธีอันเป็นมงคลได้ผ่านไป มีการประชุมที่วัดสุทัศนาราม โดย
พระเทพบัณฑิต (ญาณชาโล ญาณ ดาโรจน์) เป็นประธาน เมื่อวันที่ ๒ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๐๒ และมีความเห็นชอบในการสร้างพระธาตุองค์ใหญ่ครอบพระธาตุ
องค์เล็ก โดยเริ่มขุดฐานรากพระธาตุองค์ใหญ่ในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
พระปลัดฐานิโย พรหมา นายค�าโพธิ์ ยุวมิตร นายทองพูน ยุวมิตร นางเฮ็ง ปัญญา
เป็นคณะช่างก่อสร้างเช่นเดิม แม้จะประสบปัญหาทุนรอน แต่ด้วยศรัทธาของ
พุทธศาสนิกชน มีการทอดกฐินหลายปีติดต่อกัน จึงท�าให้งานก่อสร้างด�าเนินไป
ได้ ช่างหล้า จันทรวิจิตร เป็นผู้แกะลวดลายอันวิจิตรที่ฐานองค์พระธาตุ เป็นรูป
พระเจ้าปางสิบชาติ การก่อสร้างพระธาตุเสร็จสมบูรณ์ ใน พ.ศ. ๒๕๑๒ สิ้นเงิน
กว่า ๘๕๓,๓๐๗ บาท (ค�าโพธิ์ ยุวมิตร ๒๕๕๖ : ๑๐๔ – ๑๔๘)