Page 209 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 209

วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 201


                                      วัดพลแพน


            ๑. ที่ตั้ง
                  เลขที่ ๖๕ ถนนพลแพน ต�าบลในเมือง อ�าเภอเมืองอุบลราชธานี

                  จังหวัดอุบลราชธานี
                  พิกัด (UTM หรือละติจูด/ลองจิจูด) ๑๕.๒๓๑๘๑๕, ๑๐๔.๘๖๗๙๕๗


            ๒. ประเภทแหล่งศิลปกรรม โบราณสถานและโบราณวัตถุ
                  วัดพลแพน มีเสนาสนะและอาคารต่าง ๆ ได้แก่ อุโบสถ ศาลาอเนกประสงค์
            กุฏิ โรงทานคณะทายกทายิกาวัดพลแพน เจดีย์บรรจุอัฐิอดีตเจ้าอาวาส ศาลา

            บ�าเพ็ญกุศล เมรุ และอาคารชมรมผู้สูงอายุวัดพลแพน โบราณสถาน โบราณวัตถุ
            และศิลปวัตถุที่ส�าคัญในวัดมี ดังนี้

                  ๒.๑ พระเจ้าใหญ่มิ่งมงคลอุบลเทพนิมิต
                        พระเจ้าใหญ่มิ่งมงคลอุบลเทพนิมิต  (พระเจ้าใหญ่เชิงชุม)
            พระประธานในวิหารอุโบสถ เป็นพระปูนปั้นปางมารวิชัย ฝีมือพระครูวิโรจน์

            รัตโนบล (รอด นนฺตโร) สังฆปาโมกข์ เจ้าคณะใหญ่เมืองอุบลราชธานี
            และลูกศิษย์ คือ พระใบฎีกาสังข์ ฐิตธมฺโม กับพระมหาคูณ ปญฺญาปชฺโชโต

            สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ หลังจากสร้างสิมหลังเดิมเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๗๒ ถวาย
            พระนามว่า พระเจ้าใหญ่เชิงชุม ภายหลังในสมัยพระครูสาทรมงคลกิจเป็น
            เจ้าอาวาสได้ถวายพระนามใหม่ว่า พระมิ่งมงคลอุบลเทพนิมิต หรือพระเจ้าใหญ่

            มิ่งมงคลอุบลเทพนิมิต ต่อมาได้รื้อถอนสิมหลังนี้สร้างใหม่เป็นวิหารอุโบสถ
            แทนใน พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๕ (พระประไพสิทธิ์ ทีฆายุโก ๒๕๓๓: ๘) พุทธลักษณะ

            คล้ายคลึงกับพระเหลาเทพนิมิต วัดพระเหลาเทพนิมิต อ.พนา จ.อ�านาจเจริญ
            เพราะพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) เคยไปบูรณะพระเหลาเทพนิมิต
            และท่านอาจประสงค์ให้เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และงามเลิศเหมือนพระเหลา

            เทพนิมิต (ปกรณ์ ปุกหุต ๒๕๕๗: ๗๕)
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214