Page 210 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 210
202 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
๒.๒ พระศิลา
พระศิลาเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะพื้นบ้าน ขนาดเท่า
พระบูชา ประดิษฐานบนโต๊ะหมู่บูชาในวิหารอุโบสถ
๒.๓ คัมภีร์ใบลาน
วัดพลแพนเก็บรักษาคัมภีร์ใบลานไว้ในตู้พระธรรม บนวิหารอุโบสถ
นางวิลักษณ์ สิงห์แฝง พร้อมครอบครัวเป็นผู้สร้างตู้พระธรรมถวาย
เมื่อวันที่ ๒๙-๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ แต่คัมภีร์ใบลานส่วนใหญ่ถูกปลวก
ท�าลาย (พระครูอดุลธรรมประจักษ์ ๒๕๖๒: สัมภาษณ์)
๒.๔ ฮางหดสรง
ฮางหดสรงเป็นฮางโบราณที่ใช้ในการสรงน�้าพระในพิธีเถราภิเษก
แกะสลักจากไม้เป็นรูปพญานาค ส่วนเท้าฮางแกะสลักเป็นเต่าทาสีประดับกระจก
ศิลปะแบบพื้นบ้าน
๒.๕ กุฏิสาทรประชาสามัคคี
มีรูปทรงเป็นเรือนปั้นหยาคล้ายกับกุฏิใหญ่วัดมณีวนาราม
สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓
๓. ประวัติความเป็นมา
วัดพลแพนเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๑๖ ไร่
๒ งาน อาณาเขตทิศใต้จดถนนพโลรังฤทธิ์ ทิศตะวันตกจดถนนพลแพน
ทิศเหนือจดบ้านเรือนเอกชน ทิศตะวันออกจดบ้านพักไปรษณีย์อ�าเภอเมือง
อุบลราชธานี
วัดพลแพน สร้างราว พ.ศ. ๒๔๓๐-๒๔๓๑ (บ้างว่า พ.ศ. ๒๔๔๑)
สมัยที่พระยาศรีสิงหเทพ (ทัด ไกรฤกษ์) เป็นข้าหลวงเมืองอุบลราชธานี หลังจาก
เจ้าราชบุตรหนูค�าถึงแก่อนิจกรรมแล้ว ผู้ถวายที่ดินสร้างวัดคือนายวินัยธรรม
แสนทวีสุข นายพรหมมา นางจันทร์แดง คุ้มวัดกลาง (พระประไพสิทธิ์ ทีฆายุโก
๒๕๓๓: ๗) ส่วนผู้น�าในการสร้างคือพระพิทักษ์ชุมพล (บัวรินทร์) และกวนเมือง