Page 21 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 21

วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี  13


                  ด้านการศึกษา มีโรงเรียนกิตติญาณวิทยาเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม

            แผนกสามัญศึกษา แผนกธรรม/สามัญ สอนธรรม-บาลี เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษา
            ปีที่ ๑-๖ รับเฉพาะนักเรียนพระภิกษุและสามเณร พ.ศ. ๒๕๖๒ มีจ�านวน ๑๖๐ รูป
                  ด้านการบริการชุมชน มีศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดมหาวนาราม

            ศูนย์จ�าหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนวัดมหาวนาราม และอาคารชมรมผู้สูงอายุ
            วัดมหาวนาราม

            ๔. ความส�าคัญ

                  ๔.๑ เป็นวัดส�าคัญตามใบบอกเมืองอุบลราชธานีของพระยาราชเสนา
            (ทัด ไกรฤกษ์) หลวงภักดีณรงค์ (สิน ไกรฤกษ์) ขุนพรพิทักษ์ (เคลือบ ไกรฤกษ์)

            ได้นิมนต์พระภิกษุจากวัดนี้ไปเจริญพระพุทธมนต์และรับไทยธรรมที่ศาลากลาง
            จังหวัด หลังเสร็จพิธีถือน�้าพระพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ ณ อุโบสถ วัดหลวง

            เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘ เป็นเวลา ๓ วัน ดังความว่า “นิมลพระภิขุสงฆมหานิกาย
            สิ้นทุกวัด คือ วัดหลวงวัดหนองยางวัดสว่างวัดเรียบวัดป่าน้อยวัดป่าไหญ่
            วัดทุ่งวัดไต้วัดท่าวัดเหนือวัดกลางรวม ๑๑ วัด จ�านวนพระพิขุสงฆ ๑๖๓ รูป

            เจริญพระพุทมลต์สมโพชพระบรมราชศาทิฉายาลักษณ์” (ใบบอก ร.๕ ม.๒.๑๒
            ก/๓ [๖๙} ๒๔๒๘: ๑๒๑-๑๒๒)

                  ๔.๒ เป็นวัดที่เจ้าเมืองอุบลราชธานีคือ เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์
            (เจ้าทิดพรหม) อุปถัมภ์
                  ๔.๓ เป็นพระอารามหลวง ๑ ใน ๓ วัดของจังหวัดอุบลราชธานี และวัด

            เดียวของคณะสงฆ์มหานิกาย
                  ๔.๔ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองคือ พระเจ้าใหญ่อินแปง

                  ๔.๕ เป็นแหล่งรวมจารึกประวัติศาสตร์ที่ส�าคัญของเมืองอุบลราชธานี
            มากถึง ๗ หลัก
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26