Page 16 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 16

8    วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


          หลักที่ ๗ ส่วนที่จารึกสูงราว ๖ ซม. กว้าง ๓๑ ซม. หนา ๑ ซม. มีความว่า

          “พุทธสักกาษราซาได้ ๒ พัน ๓ ฮ้อย ๗๔ พระวัสสา ๑ เดือนล่วงแล้ว...ปีนีเถาะ
          ตรีสักอยู่เหมันตลดูได้เดือน ๓ ขึ้น ๗ ค�่า วัน ๔ พระมหาราซคูได้มาส่างวัดป่า
          มณีโซติส่างพุทธฮูปส่างไว้โซตนาสานตาบต่อเท่า ๕,๐๐๐ พระวัสสาสัพพะญูต

          ญาณปัจจะโยโหตุ ขอให้ได้ตามข้าน้อยปรารถนาขอให้เถิงนีลพานเท่าวัน
          ก็ข้าเทิน” (พระทองแดง อตฺตสนฺโต ๒๕๓๒: ๕๑) ปี ๒ พัน ๓ ฮ้อย ๗๔ พระวัสสา

          คือ พ.ศ. ๒๓๗๔
               ๒.๙ พระนาคปรกศิลา (พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา)
                     พระนาคปรกศิลาฝีมือช่างท้องถิ่น พุทธลักษณะใกล้เคียงกับ

          พระพุทธมณีโชติ วัดมณีวนาราม เข้าใจว่าเป็นรูปเหมือนของพระมหาราชครู
          ศรีสัทธรรมวงศา เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดมหาวนาราม จึงเรียกชื่อพระพุทธรูป

          องค์นี้ว่า พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา
               ๒.๑๐ พระพุทธรูปศิลาเสี่ยงทาย
                     พระพุทธรูปศิลาเสี่ยงทายในพระวิหาร ๑ องค์และในพระอุโบสถ

          ๓ องค์ ทาสีทอง ยังมีอีกหลายองค์เก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย เป็นพระพุทธรูป
          ศิลาแกะสลักโดยช่างท้องถิ่น

               ๒.๑๑ ตู้พระธรรมและคัมภีร์ใบลาน
                     คัมภีร์ใบลานของวัดมหาวนารามที่เก็บรักษาไว้มีจ�านวน ๓ หลัง
          เก็บไว้ที่กุฏิหลวงปู่นาคกลางสระหนองตระพัง ซึ่ง ๒ หลัง มหาวิทยาลัยราชภัฏ

          อุบลราชธานีได้ส�ารวจและอนุรักษ์เบื้องต้นแล้ว ที่ตู้หลังหนึ่งจารึกข้อความ
          ไว้ว่า “๒๔๘๐ นางพนานิคมพิทักษ์ นางหมื่นประดิษฐ์หิรัญ ผู้สร้างถวายไว้

          ในพระสาสนา”
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21