Page 221 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 221
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 213
สยามบรมราชกุมารีเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ศาลาดุสิดาลัย
สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์
วัดมณีวนาราม จัดแสดงและเก็บรักษาชิ้นส่วนสิมหลังเก่า คัมภีร์ใบลาน
ตู้พระธรรม ศิลาจารึก ฯลฯ
๒.๕ กุฏิธรรมระโต
เป็นกุฏิไม้ใต้ถุนสูง ขนาด ๓ ห้อง มีมุขและระเบียงหน้า สร้าง
ถวายโดย ทุย รชนีภาค และบุตร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ พระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง
ธมฺมทีโป) เป็นเจ้าอาวาส ภายหลังมีการย้ายและซ่อมแซมใน พ.ศ. ๒๔๘๓ พระครู
วิจิตรธรรมภาณี (กิ่ง มหปฺผโล) เป็นเจ้าอาวาส โดยนายอ้วนเป็นนายช่าง สิ้นเงิน
๖๙๒ บาท เคยเป็นที่พ�านักของพระบูรพาจารย์และอดีตเจ้าอาวาสหลายรูป เช่น
พระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง ธมฺมทีโป) พระครูศรีพิริยกิจ (ทองลา
เตชปญฺโญ) ส�านักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี (ส�านักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
ในปัจจุบัน) ได้บูรณะเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ด้วยเงินบริจาคของ ศิริธัช โรจนพฤกษ์,
สิทธิชัย-สายสุนีย์ โควสุรัตน์ จ�านวน ๘๐๐,๐๐๐ บาท ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่ง
ของพิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมณีโชติและพระพุทธ
รูปเก่าของวัดหลายองค์
๒.๖ กุฏิใหญ่
เป็นกุฏิใต้ถุนสูง หลังคาปั้นหยามุงกระเบื้องว่าวคอนกรีต มีมุขหน้า
จั่วคู่กันด้านซ้ายและขวาประดับปั้นลมไม้กลึงและไม้ฉลุลาย เป็นเรือนไม้ฝา
กระดาน ขนาดใหญ่ ความยาว ๖ ห้อง (๑๘.๒๐ ม. หรือ ๙ วา ๘ นิ้ว) ลึก ๓ ห้อง
(๙.๑๗ ม. หรือ ๔ วา ๒ ศอก ๖ นิ้วเศษ) ความลึกของกุฏิแบ่งเป็น ๓ ส่วนลด
ระดับลงมาคือ ห้องในสุดห้องนอน ห้องถัดมาเป็นห้องโถง และหน้าสุดเป็นชาน
เหนือประตูและหน้าต่างมีช่องลมฉลุลวดลายพรรณพฤกษาด้านหน้าเป็นชาน
ขนาดใหญ่ มีบันไดทางขึ้นขนาดกว้างเกือบเท่าหนึ่งห้อง บันไดมีชานพัก
ราวบันไดสองข้างมีพญานาคปูนปั้นสูงครึ่งหนึ่งของบันไดคือจากพื้นถึงชานพัก