Page 225 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 225

วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 217


                             - คัมภีร์ใบลาน กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัย

            ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้อนุรักษ์และจัดระบบ
            เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๙ มีทั้งสิ้น ๓๙๘ เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นคัมภีร์ภาษาบาลี
            จารด้วยอักษรธรรม

                             - ตู้พระธรรมลายรดน�้า มี ๒ หลัง หลังแรกเขียนเรื่อง สีทน
            มโนราห์ วิธุรชาดก รามเกียรติ์ และพุทธประวัติตอนตัดพระเกศเมาลีกับ

            นางธรณี ขนาดกว้าง ๗๙.๖ ซม. ลึก ๗๘.๙ ซม. สูง ๒๐๑ ซม. หลังที่สองเขียน
            เรื่องปาจิต-อรพิม กว้าง ๘๖.๖ ซม. ลึก ๘๖.๖ ซม. สูง ๒๐๗ ซม. ตู้สองหลังนี้
            ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุของชาติประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒

            ตอนพิเศษ ๖๙ ง ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๘ หน้า ๒๙
                             - ตู้พระไตรปิฎก ผู้สร้างคือขุนประหัตถ์ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓

            (ร.ศ. ๑๑๙) ขนาดกว้าง ๑๐๑ ซม. ลึก ๗๘ ซม. สูง ๒๑๐.๕ ซม. ขึ้นทะเบียนเป็น
            โบราณวัตถุของชาติประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๖๙ง
            ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๘ หน้า ๒๙

                             - ตู้พระไตรปิฎก ท่านหอมและบุตรภรรยา สร้างเมื่อ
            พ.ศ. ๒๔๕๒

                             - หีบพระธรรม ลักษณะเป็นหีบไม้ทรงลุ้ง (ทรงบัวเหลี่ยม
            แบบเอวขันปากพาน) ลงรักปิดทอง ส่วนฐานตกแต่งด้วยลวดลายจ�าหลักไม้
                             - ศิลาจารึกการปฏิสังขรณ์สิมหลังเก่า กว้าง ๓๖ ซม.

            ยาว ๕๘ ซม. ด้านหนึ่งจารึกอักษรไทยน้อย ๑๘ บรรทัดระบุการผูกสีมา อีกด้าน
            หนึ่งเป็นอักษรไทย  ๑๐  บรรทัดระบุว่าพระครูพวง  ปฏิสังขรณ์สิมใน

            พ.ศ. ๒๔๕๗ สิ้นเงิน ๙๐๐ บาท
                             - ธรรมาสน์ปาฏิโมกข์ (เม็ง) ๒ หลัง แบบศิลปะเมือง
            อุบลราชธานี หลังหนึ่งกล่าวว่า อาสาภูธร (ทองด�า กันยกาญจน์) เป็นผู้สร้างถวาย

            อีกหลังหนึ่งชาวเมืองสุรินทร์น�ามาถวาย
   220   221   222   223   224   225   226   227   228   229   230