Page 226 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 226

218 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


                           - ผ้าห่อคัมภีร์ จ�านวน ๒๙๔ ผืน

                           - โกศลายรดน�้าและโกศทองทึบ สันนิษฐานว่าเป็นโกศ
          บรรจุอัฐิของอดีตเจ้าอาวาส มีจารึกอักษรไทยน้อยความว่า “ตนทับกับตนพัก
          เป็นผู้ริจนาแลเจ้าเอย”

                           - พัดงา เชื่อว่าเป็นของพระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบล
          สังฆปาโมกข์ (สุ้ย)

                           - ฮางหดสรง แกะสลักจากไม้เป็นรูปนาค ลงรักปิดทอง
          ประดับกระจก ขาข้างหน้ารอบรับด้วยไม้สลักเป็นรูปกระต่ายกับเต่า
                           - เครื่องกระเบื้อง เครื่องแก้ว เครื่องทองเหลือง เป็นสมบัติ

          ของพระบูรพาจารย์วัดมณีวนาราม
                           - เครื่องบูชาอย่างจีน (อู่ก่ง) เป็นกระเบื้อเคลือบลายคราม

          ประกอบด้วยเชิงเทียน ๑ คู่ กระถางธูป ๑ ใบ แจกัน ๑ คู่ ปัจจุบันจัดเป็นเครื่อง
          บูชาถวายรัชกาลที่ ๙ บนกุฏิใหญ่

          ๓. ประวัติความเป็นมา

               วัดมณีวนารามเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อยู่ในพื้นที่
          ดงอู่ผึ้ง เนื้อที่ ๑๖ ไร่ ๑ งาน ๔๘ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือและทิศตะวันตก

          จดที่เอกชน ทิศใต้จดถนนพโลรังฤทธิ์ ทิศตะวันออกจดถนนหลวง ในหนังสือ
          รับรองสภาพวัดระบุว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๒๒ ในอดีตเรียกว่าวัดป่ามณีวัน
          หรือวัดป่าแก้วมณีวัน คงจะเจตนาให้คู่กันกับวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์สัสดี

          (วัดมหาวนาราม) ซึ่งอยู่ใกล้กัน ส่วนชื่อที่ชาวบ้านนิยมเรียกคือ วัดป่าน้อยซึ่งคู่
          กันกับวัดป่าใหญ่ (วัดมหาวนาราม) ชื่อวัดมณีวนารามนี้ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๕

          ตามด�าริของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) มีความหมายว่า วัดป่าแก้ว
   221   222   223   224   225   226   227   228   229   230   231