Page 248 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 248

240 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


               - ส้างของวัดเลียบเป็นส้างเก่าแห่งเดียวในเมืองอุบลที่ยังใช้งานอยู่จนถึง

          ปัจจุบัน ในอดีตมีหลายวัดที่มีส้างแบบนี้ เช่น วัดสุทัศนาราม วัดใต้ วัดป่าน้อย
          วัดที่หลวงปู่เสาร์เป็นผู้บุกเบิกมีการขุดส้างเกือบทุกแห่ง น�้าส้างวัดเลียบ
          ไม่เหือดแห้ง ใสสะอาด ใช้ได้ตลอดปี ชุมชนแถบนี้อาศัยน�้าส้างนี้ทั้งนั้น ได้แก่

          คุ้มวัดเลียบ คุ้มวัดกลาง คุ้มวัดบูรพา คุ้มวัดพลแพน คุ้มวัดใต้ เป็นต้น ใช้กิน
          เป็นหลัก บ้างก็น�าไปขาย สมัยก่อนใช้กะป่อมตักน�้าส้าง ต่อมาใช้ปี๊บ ปัจจุบัน

          สร้างอาคารหลังเล็กครอบไว้ ใช้วิธีสูบแทนการตักน�้าขึ้นมาใช้ภายในวัด
          ช่วยประหยัดค่าน�้าประปาได้มาก (พระครูอุบลคณาภรณ์ ๒๕๖๒: สัมภาษณ์)
               - วีณา วีสเพ็ญ เล่าว่า “ส้างนี้ส�าคัญมาก น�้าดื่มส้างนี้รสดีหลาย สมัยก่อน

          ได้น�้าที่นี่ดื่มทั้งคุ้ม เวลาตักจะใช้กะป่อมผูกเชือกตัก ชาวบ้านตักน�้ากินขายเป็น
          อาชีพได้ก็เพราะส้างวัดเลียบนี้...คนขายน�้ากินใช้รถซุก (รถเข็น) ใส่ปี๊บใส่ ๖ ใบ

          ใส่น�้าซุก (เข็น) ไปตามถนน คนก็จะซื้อทีละปี๊บสองปี๊บ ยามแลงเพิ่นเมื่อยแล้วก็
          จะมานั่งโสเหล่ที่บ้าน เพราะสมัยก่อนแม่เปิดร้านขายของช�าและขายเหล้า
          เป็นเป๊ก ชีวิตจึงคุ้นเคยกับบรรดาลุง-น้าผู้ใช้แรงงานมาแต่น้อย ก็นับถือเพิ่นว่า

          หากินสุจริต ม่วนตั๊วชีวิตสมัยก่อน”
               - อมรา วีสเพ็ญ ก็เล่าไว้ด้วยว่า “น�้าส้างนี้เป็นที่พบปะของหนุ่มสาวในคุ้ม

          วัดเลียบ วัดใต้ สาวหนุ่มมาตักน�้าไปดื่มกิน ถ้อยทีถ้อยอาศัย หนุ่มตักให้สาว
          สาวหาบกลับบ้าน สมัยนั้นยังรู้สึกว่าตัวเองยังเด็ก มาตักน�้าก็สนุกสนานมาก
          ชีวิตมีความสุข”


          ๗. ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน
               ๗.๑ ชุมชนวัดเลียบเป็นชุมชนข้าราชการแบบเจ้าขุนมูลนาย ละแวกรอบ

          วัดมีแต่ผู้สืบเชื้อสายขุนนางกรมการเมืองเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มคนญวนคนจีนก็มี
          มากแต่เข้ามาภายหลัง กลุ่มคนญวนมาอุปถัมภ์วัดและบรรจุอัฐิไว้ที่วัด ราว พ.ศ.
          ๒๔๔๐ ญวนเก่าเข้าวัดเลียบ วัดใต้ วัดสุทัศนาราม
   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253