Page 244 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 244

236 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


          ๓. ประวัติความเป็นมา

               วัดเลียบเป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย มีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๑ งาน ๓๗
          ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือจดถนนศรีณรงค์ ทิศใต้จดถนนเขื่อนธานี ทิศตะวัน
          ออกและทิศตะวันตกจดที่ดินเอกชน สร้างขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี เดือนพฤศจิกายน

          พ.ศ. ๒๓๙๑ เป็นสวนผลไม้ของทิพเสนา ถวายให้ตั้งเป็นส�านักสงฆ์แล้วจึงมาบวช
          เป็นหลวงปู่ทิพเสนา เป็นส�านักสงฆ์ ๔๔ ปีมีสมภารสืบเนื่องมา ๑๐ รูปแล้ว

          ร้างไป หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เห็นเป็นวัดร้างจึงมาพ�านักในราวพรรษาที่ ๑๔ แล้ว
          ตั้งเป็นวัดขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ (พระครูอุบลคณาภรณ์ ๒๕๖๒: สัมภาษณ์)
          มีญาติโยมอุปถัมภ์ร่วมกันปฏิสังขรณ์ก่อสร้างเสนาสนะและปลูกต้นไม้ เช่น

          พระอุบลการประชานิตย์  (บุญชู  พรหมวงศานนท์)  พระสุรพลชยากร
          (อุ่น วนะรมย์) ท้าวกรมช้างทองจัน สังฆการีจารปัจฌา สังฆการีจารเกษ

               ต่อมาท้าวสิทธิสารและเพี้ยเมืองจันได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอ
          วิสุงคามสีมา ยาว ๗ วา กว้าง ๕ วา เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ เมื่อได้
          รับพระราชทานแล้วจึงสร้างสิมไม้ขึ้น

               พระโพธิญาณมุนี (ภทฺทิโย สุธีร์) สันนิษฐานที่มาของชื่อวัดเลียบว่า เป็น
          วัดที่สร้างเลียบคันคูเมืองที่กั้นเป็นแนวตามล�าน�้ามูล ถัดจากคันคูเมืองขึ้นไปทิศ

          เหนือเป็นแอ่งตามแนวของถนนศรีณรงค์เรียกว่า หลุบยางใหญ่ มีหนองน�้า
          เรียกว่าหนองนกทา ชื่อถนนเขื่อนธานีก็น่าจะมาจากคันดินที่กั้นเป็นแนวตาม
          ล�าน�้ามูลนี้เช่นกัน บางท่านเห็นว่าชื่อวัดมาจากกิริยาอาการเดินไปตามริมตาม

          ขอบของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล (วัดเลียบ อุบลราชธานี อารามแห่งบูรพาจารย์
          ๒๕๕๔: ๒๓)

               เจ้าอาวาส เจ้าอาวาสวัดเลียบนับถึง พ.ศ. ๒๕๖๒ มี ๘ รูป ดังนี้
                     ๑) พระครูวิเวกพุทธกิจ (กนฺตสีโล เสาร์) ครองวัด พ.ศ. ๒๔๓๕-
          ๒๔๔๕
   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249