Page 243 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 243

วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 235


                  ๒.๕ พระแก้วนิลกาฬ

                        พระแก้วนิลกาฬเป็นพระพุทธรูปแก้วผลึกสีด�าทรงเครื่อง ปาง
            มารวิชัยขัดสมาธิเพชร พบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ บนเพดานของกุฏิสุขสวัสดิ์มงคล
            พร้อมกับพระพุทธรูปเงินบุและพระพุทธรูปทองบุบรรจุในกล่องลายไม้สักเป็น

            สมบัติเก่าแก่ของวัดที่บูรพาจารย์เก็บรักษาไว้ ใน พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้อัญเชิญออก
            สรงน�้าในเทศกาลสงกรานต์เป็นประเพณีสืบมา

                  ๒.๖ พระแก้วมรกต
                        พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปแก้วผลึกสีเขียวทรงเครื่อง ปางมาร
            วิชัยขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง ๓.๕ นิ้ว สูง ๕ นิ้ว พุทธลักษณะคล้ายกับ

            พระแก้วโกเมน วัดมณีวนาราม มีผู้น�ามาถวายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕ จึงได้อัญเชิญ
            ออกสรงน�้าในช่วงเทศกาลสงกรานต์พร้อมกับพระแก้วนิลกาฬทุกปี

                  ๒.๗ พระพุทธรูปเนื้อทองนาก
                        พระพุทธรูปเนื้อทองนาก ปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง หลวงปู่เสาร์
            กนฺตสีโล อัญเชิญมาจากประเทศลาว ซึ่งเป็นต้นแบบในการสร้างพระพุทธจอม

            เมืองของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล แต่เดิมมีประเพณีปิดทองพระพุทธรูปเนื้อทอง
            นากประจ�าปีในงานบุญผะเหวด ปัจจุบันได้ยกเลิกไปเพื่ออนุรักษ์องค์พระไว้

                  ๒.๘ โปงทอง
                        โปงทองเป็นโปงหล่อด้วยส�าริด สร้างในสมัยหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
            เป็นเจ้าอาวาส ปัจจุบันแขวนอยู่บนหอระฆัง มีจารึกระบุผู้สร้างและปีที่สร้าง

            พ.ศ. ๒๔๕๙
                  ๒.๙ ฮางหดสรง

                        ฮางหดสรงท�าด้วยไม้ตะเคียน พระเทพวรมุนี เจ้าคณะจังหวัด
            นครพนม เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร ถวายวัดเลียบส�าหรับ
            การหดสรงพระแก้วนิลกาฬและพระแก้วมรกต
   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248