Page 255 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 255
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 247
๒.๔ รูปหล่อพระครูสิริพัฒนวิมล (ผิน อิสิญาโณ สมบูรณ์)
รูปหล่อของพระครูสิริพัฒนวิมล (ผิน อิสิญาโณ สมบูรณ์) อดีต
เจ้าอาวาสวัดศรีประดู่ รูปแรก ประดิษฐานในอุโบสถ ที่ฐานจารึกภาษาไทยไว้
๔ บรรทัดความว่า “พระครูสิริพัฒนวิมล (ผิน สมบูรณ์) ปฐมอดีตเจ้าอาวาส
ศรีประดู่ ชาตะ ๑๑ เม.ย. ๒๔๖๙ มรณะ ๑๖ พ.ค. ๒๕๔๒”
๒.๕ คัมภีร์ใบลาน
คัมภีร์ใบลานภาษาไทยของวัดศรีประดู่มีจ�านวน ๒ ห่อ เก็บรักษา
ไว้ที่อุโบสถ
๓. ประวัติความเป็นมา
วัดศรีประดู่เป็นวัดราษฏร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๙ ไร่
๕๕ ตารางวา มีอาณาเขตทิศเหนือจดถนนบูรพาใน ทิศตะวันออกและทิศใต้
จดที่เอกชน และทิศตะวันตกจดถนนบูรพานอก
พื้นที่วัดเดิมเป็นป่าช้าของบ้านดู่และบ้านแสนตอ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ไม่มีวัด
พ่อใหญ่บู่ ทองมี กับพ่อใหญ่มา จูมพระบุตร เป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดโดยได้หารือ
พระครูนวกรรมโกวิท (นาค ภูริปญฺโญ) และพระครูกิติยาภรณ์โกศล (สมเกียรติ
สมกิตฺติ) วัดมหาวนาราม เมื่อได้รับความเห็นชอบจึงเริ่มตั้งเป็นส�านักสงฆ์ใน พ.ศ.
๒๕๑๑ ใช้ชื่อว่าวัดศรีประดู่ทรงธรรม มีพระครูกิตติยาภรณ์โกศล เลขานุการเจ้า
คณะจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ยกฐานะเป็นวัดตาม
กฎหมายเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ พระปลัดผิน อิสิญาโณ เป็นเจ้า
อาวาสรูปแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๓
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ สร้างอุโบสถชั่วคราวก่อน ต่อมาจึงสร้างอุโบสถทรงประยุกต์
ขนาดกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๔๘ เมตร วางศิลาฤกษ์ใน พ.ศ. ๒๕๒๒ เริ่มก่อสร้าง
ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๒๓ เขียนแบบแปลนและควบคุมการก่อสร้างโดย
นายอ�านวย ชารีรัตน์ ช่างรับเหมาก่อสร้างคือนายสงบ นิศาภัย หลังคามุง
กระเบื้องเคลือบดินเผา พื้นคอนกรีตปูหินอ่อน ผนังอิฐฉาบปูน หันหน้าสู่ทิศ