Page 18 - แม่ดีเด่นราชภัฏ ประจำปี ๒๕๖๗ : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 18
ประวัติความเป็นมา
ของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทยพระราชประวัติ
งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ณ สวนอัมพร โดยกระทรวง
สาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงคราม
สงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ประกาศให้วันที่ ๑๕ เมษายน
ของทุกปี เป็นวันแม่ โดยเรียกว่า “วันแม่ของชาติ” และมอบหมายให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
เป็นผู้จัดงาน แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้
สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ ขาดผู้สนับสนุน
ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ ๔ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๑๕ แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ คณะกรรมการอำนวยการ
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน
โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
พันปีหลวง วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่
คือ “ดอกมะลิ” นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ประวัติดอกไม้วันแม่
ดอกไม้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นดอกไม้วันแม่ คือ ดอกมะลิ โดยมีความหมายดังนี้
๑. ดอกมะลิมีสีขาว เปรียบเหมือนความรักแท้ที่ยิ่งใหญ่ และบริสุทธิ์ของแม่
๒. ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสรรพคุณเป็นเครื่องหอมบำรุงหัวใจ เปรียบเหมือนความรักของแม่ที่
มีความเมตตา และทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ
๓. ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่ออกดอกตลอดทั้งปี เปรียบเหมือนความรักของแม่ที่ไม่มีที่สิ้นสุด
๔. ดอกมะลิมีกลิ่นหอมได้ไกลและหอมนาน เปรียบเหมือนความรักของแม่ที่ยั่งยืนถาวร
๑๖