Page 11 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 11

อุบลราชธานี และเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม เป็นจุดเริ่มต้น ในเดือนกันยายน พ.ศ.

          ๒๕๕๙  รศ.วีณา วีสเพ็ญ และคณะอาสาสมัคร ได้แก่ พระภัภชรพงศ์ ปภสฺสโร
          นายปกรณ์ ปุกหุต และนายณัฐพงค์ มั่นคง ท�าการส�ารวจโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
          เอกสารโบราณต่าง ๆ ที่เก็บรักษากระจัดกระจายในกุฏิต่าง ๆ และรวบรวมมาไว้เพื่อ

          พิจารณาคัดเลือกส�าหรับการจัดแสดง ขออนุมัติงบประมาณจากวัด และศรัทธาของ
          คณะท�างาน จัดหาตู้จัดแสดงทั้งท�าขึ้นใหม่ และใช้ตู้เก่าที่วัดมีอยู่เดิม

















                   ภาพการรวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุภายในวัด เพื่อคัดเลือกไปจัดแสดง


               เมื่อเล็งเห็นศักยภาพในการจัดพิพิธภัณฑ์ จึงได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่
          เกี่ยวข้องกับการส�ารวจวัดมณีวนาราม มาแต่แรกเริ่ม มาประชุมกันที่กุฏิใหญ่ เมื่อ
          วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ กอปรด้วย กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ น�าโดย

          รศ.วีณา วีสเพ็ญ คณาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี น�าโดย
          ผศ.ดร. สมศรี ชัยวณิชยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี น�าโดยคุณเชาวนี

          เหล็กกล้า ภัณฑารักษ์ ส�านักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี น�าโดยคุณวิญญู
          จูมวันทา พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร วัดมณีวนาราม เพื่อก�าหนดแนวทางและ
          ส�ารวจสิ่งของต่าง ๆ เพิ่มเติม จึงได้ก�าหนดให้จัดกุฏิโบราณสถานทั้งสามหลังใน

          วัดมณีวนาราม ตามหลัก “พระรัตนตรัย” คือ กุฏิพระอริยวงศาจารย์ เป็น “กุฏิพระธรรม”
          เนื่องด้วยเก็บรักษาคัมภีร์ใบลาน อันเป็น “ธรรมเจดีย์” กุฏิธรรมระโต เป็น

          “กุฏิพระพุทธ” เพราะประดิษฐาน พระพุทธมณีโชติ และพระพุทธรูปส�าคัญต่าง ๆ
          และกุฏิใหญ่ เป็น “กุฏิพระสงฆ์” เหตุด้วยจัดแสดงภาพของพระบูรพาจารย์ และ
          สมณบริขารประเภทต่าง ๆ ของอารามแห่งนี้


                                                                   วัฒนศิลปสาร  9
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16